
ความเป็นมาของเศรษฐศาสตร์สวีเดน : ปี 1914 ถึง 1945

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? สวีเดนไม่ได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งใดเลย
ช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 1 ปะทุขึ้น ประชากรสวีเดนราวครึ่งหนึ่ง ยังคงทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม จำนวนที่เหลือทำงานในภาคอุตสาหกรรม เป็นหลัก - ซึ่งมักทำงานในโรงงาน - หรือทำงานบริการ เช่น เป็นช่างทำเฟอร์นิเจอร์ ช่างทำผม หมอ หรือ อาจเป็นเด็กส่งของ สวีเดนไม่ได้เข้าร่วม ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามได้ให้ประโยชน์ กับเศรษฐกิจสวีเดน ประเทศที่ตกอยู่ในภาวะสงคราม มีความต้องการวัตถุดิบจำนวนมาก และสวีเดนก็สามารถส่งออกสิ่งเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งไปยังเยอรมนี แต่มันก็ไม่ได้เป็นไปด้วยดีเสมอไป มีความล้มเหลวในการปลูกพืชจำนวนมาก และเนื่องจากภาวะสงครามในยุโรป การนำเข้าอาหารจึงยากและไม่เพียงพอ การต่อสู้ครั้งใหญ่ปะทุขึ้นตามท้องถนน มีการก่อจลาจล และผู้คน ก็พูดถึงเรื่องการปฏิวัติ เหมือนกับที่เกิดขึ้นในรัสเซีย รัฐบาลที่นำโดยพรรคฝ่ายขวา อยู่ภายใต้ความกดดันและสูญเสียอำนาจ พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย และพรรคเสรีนิยม ได้ใช้โอกาสนี้ ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปและเท่าเทียม ในปี 1921 ผู้หญิงสามารถออกเสียง เลือกตั้งได้เป็นครั้งแรกในสวีเดน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ดินแดนในยุโรปส่วนใหญ่ ก็สงบสุขเป็นเวลา 20 ปี แต่ก็ยังเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอันหนักหน่วง 2 อย่างขึ้นในช่วงนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศส่วนใหญ่ในโลก วิกฤตการณ์อย่างแรกในทศวรรษที่ 1920 มีอัตราการว่างงานในสวีเดน เพิ่มขึ้นกว่า 30 % และบริษัทหลายแห่งก็ล้มละลาย ในช่วงนั้น แทบจะไม่มีการให้ความช่วยเหลือ หรือให้เงินอุดหนุนให้กับ ผู้ว่างงานและคนจนเลย มันเป็นช่วงที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน นายจ้างกับลูกจ้าง โดยมีสหภาพแรงงานเป็นตัวขับเคลื่อน บริษัทของสวีเดนที่ไม่ได้ล้มละลาย ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และออกจากวิกฤติได้ ทั้งยังแข็งแกร่งกว่าเดิม แต่สำหรับประชาชน ค่อนข้างใช้เวลานาน กว่าปีที่ยากลำบากจะสิ้นสุด และการว่างงานจะลดลงอีกครั้ง 10 ปีต่อมา ก็เกิดเรื่องขึ้นอีก เกิดการว่างงานขึ้นอีกครั้ง ในช่วง วิกฤติยุค 30 การว่างงานสูงถึง 1 ใน 4 ของวัยทำงาน ไม่ต่างจากวิกฤติยุค 20 วิกฤติยุค 30 ก็เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก ทั้งสำหรับผู้คนและบริษัท แต่มันก็เป็นช่วงที่บริษัทในสวีเดน พัฒนาไปเร็วกว่าที่เคยเมื่อเทียบกับ บริษัทอื่นๆ ในโลก บางทีอาจจะไม่เป็นที่สังเกต แต่สวีเดนกำลังจะกลายเป็น ประเทศที่ร่ำรวย ในช่วงวิกฤติยุค 30 รัฐบาลยุคนี้มีความตื่นตัว มากกว่าช่วงวิกฤติยุค 20 พวกเขาจัดหางานพิเศษ "งานบรรเทาทุกข์" เพื่อลดการว่างงานลง นี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของบทบาทรัฐบาลต่อ การจัดการเศรษฐกิจ ตอนนี้มีทฤษฎีที่แพร่ออกไป ซึ่งระบุว่ารัฐบาลสามารถ รับหน้าที่และควรแก้ปัญหาได้อย่างแข็งขัน ในสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาที่เลวร้าย รัฐบาลควร ช่วยเหลือประชาชน ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนนและสะพาน ต้องแน่ใจว่าผู้คนมีงานและรายได้ เพื่อให้พวกเขาสามารถจับจ่าย สร้างงานให้ผู้คนมากขึ้น ส่วนในช่วงเวลาที่ดี รัฐบาลควรชะลอเรื่องเศรษฐกิจไว้สักนิด ลดการลงทุนลง เพื่อไม่ให้ เศรษฐกิจรุดหน้าเร็วจนเกินไป ทั้งสหภาพแรงงานและ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ ต่างยอมรับว่านี่เป็นนโยบาย ทางเศรษฐกิจที่ดี ต้องขอบคุณนโยบายใน ช่วงวิกฤติยุค 30 เหล่านี้ ที่ไม่ได้นำเราไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหญ่ เหมือนกับวิกฤติยุค 20 ตลาดแรงงานของสวีเดน มีความโดดเด่นขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับที่ความขัดแย้ง และการนัดหยุดงานที่ลดลง ในปี 1938 สหภาพแรงงาน และนายจ้างได้ไปพบกันที่ซัลท์เชอบอดเด็น (Saltsjöbaden) นอกกรุงสตอกโฮล์มเพื่อลงนามในข้อตกลง ที่เรียกว่าข้อตกลงซัลท์เชอบอด มันเป็นข้อตกลงเรื่องของ นายจ้างและสหภาพที่จะเจรจา และตกลงกันโดยที่ไม่ต้องนัดหยุดงาน ปิดกิจการ หรือสร้างความขัดแย้งแบบอื่นๆ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้น สวีเดนก็ยังคงเป็นกลาง แม้ในช่วงที่ยากลำบากและมีการว่างงานสูง สวีเดนได้หลีกเลี่ยงการทำลายล้างครั้งใหญ่ ที่กวาดไปทั่วทั้งยุโรปและโลกใบนี้ และเป็นอีกครั้งที่เศรษฐกิจสวีเดน ได้ประโยชน์ จากความต้องการแร่เหล็ก เหล็กกล้า ไม้ เมล็ดพืช และเครื่องจักรที่เพิ่มขึ้น เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ยุโรป ก็อยู่ในซากปรักหักพัง รวมทั้งบริษัทคู่แข่งของสวีเดน จำนวนมาก ไม่มีโรงงานเหลืออยู่เลย เศรษฐกิจสวีเดนจึงเติบโตอย่างต่อเนื่อง