
อุปสงค์และอุปทาน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ถ้าราคาของสินค้าบางอย่างลดลง มันจะนำไปสู่ ...
ตอนนี้มาเรียขายเค้กอยู่ เธอทำอย่างนั้นมาระยะหนึ่งแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ เธอกำลัง ทดลองเรื่องราคา แล้วก็เริ่มเห็นรูปแบบราคาอย่างหนึ่ง มาเรียสังเกตเห็นว่า เมื่อเธอตั้งราคาต่ำมากๆ ลูกค้ามากมายก็แห่กันมาซื้อเค้ก และเมื่อตั้งราคาสูง เค้กของเธอก็ขายแทบไม่ออก เพื่อจะศึกษาความสัมพันธ์นี้ มาเรียจึงวาดแผนผังภาพขึ้นมา เธอเขียนราคาไว้ที่แกน Y และแกน X คือปริมาณเค้กที่เธอขายได้ เมื่อทำเครื่องหมายลงไป เพื่อสังเกตสิ่งที่เธอทำขึ้นมา พวกมันเป็นเส้นค่อนข้างเรียบ ที่ลาดลง บรรทัดนี้จึงอธิบายความสัมพันธ์ ของราคาและจำนวนเค้กที่ขายไป ความสัมพันธ์นี้จะบอก อุปสงค์ของเค้ก มาเรียสังเกตเห็นอีกอย่าง ความต้องการเค้กจะสูงขึ้นใน วันหยุดและสุดสัปดาห์ พวกลูกค้าต่างพร้อมจ่ายเงินเพิ่ม อีกเล็กน้อยเพื่อที่จะซื้อมัน จากนั้นก็มีคนอีกมาก ที่ออกไปขายเค้ก สิ่งนี้ก็เรียกว่าความสัมพันธ์ด้วย ยิ่งราคาเค้กพุ่งสูงขึ้น คนมากมายก็จะยินดีที่จะ ใช้เวลาของพวกเขา เพื่อทำขนมเค้กและขายมัน ความสัมพันธ์นี้ก็บอกทั้ง ราคาและจำนวนเค้กด้วยด้วย แต่มันไม่ได้อธิบายถึงอุปสงค์ แต่กลับอธิบายถึงอุปทานของเค้ก เมื่อเส้นอุปทานโค้งขึ้นไป ราคาที่สูง จะนำไปสู่จำนวนเค้ก ที่ต้องการขายมากขึ้น “อุปทานสูง” และราคาที่ต่ำจะนำไปสู่การมีจำนวนเค้ก ที่ต้องการขายน้อยลง “อุปทานต่ำ” มันจะเกิดขึ้นในตอนที่ ผู้คนเริ่มต้นซื้อ หรือขายเค้กเมื่อพวกเขาต้องการ และตราบใดที่มาเรียและคนขายเค้กคนอื่นๆ สามารถตั้งราคาเค้กได้ตามต้องการ มั่นใจได้เลยว่าราคาจะจบลงที่จุดนี้ ...ที่นี่ และจำนวนเค้กที่จะขายจะสิ้นสุดลง ...ที่นี่ แผนภาพนี้ได้อธิบายตลาดเค้ก บนถนนที่มาเรียขายเค้กอยู่ และตอนนี้ตลาดอยู่ในภาวะสมดุล อุปทานมีความสมดุลตามอุปสงค์ คนขายทุกคนพร้อมที่จะทำเค้กขายในราคานี้ และลูกค้าทุกคนก็ยินดีที่จะซื้อเค้ก ในราคานี้ และเค้กทุกก้อนที่ทำขึ้นก็ขายหมด เรียกเราความสัมพันธ์ลักษณะนี้ ระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดหนึ่งๆ แม้ว่ามันจะไม่ใช่ของที่ขายใน แผงขายลอยริมทางก็ตาม แม้ในตลาดสำหรับรถยนต์มือสอง ความสัมพันธ์นั้นก็ไม่ต่างกัน หากว่ารถยนต์ราคาตก คนมากมายก็จะยินดีซื้อมัน และหากผู้คนพร้อมที่จะ จ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อรถ ไม่ว่าใครก็เต็มใจจะขายมัน ไม่ใช่แค่สิ่งที่ซื้อขายกันในท้องตลาด เท่านั้น แม้แต่ในตลาดแรงงาน “อุปทาน”ซึ่งคือทุกๆคนที่ทำงาน หากบริษัทมีการขึ้นเงินเดือน ก็หมายความว่าบริษัทพร้อม ที่จะจ่ายค่าแรงที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงมีคนมากมายที่ต้องการ ทำงานเหล่านี้เพิ่มขึ้น และในทางตรงข้าม ถ้าทุกคนเรียกร้องค่าแรงหรือ เงินเดือนที่สูงขึ้น บริษัทก็จะจ้างแรงงานน้อยลง ในตลาดที่อยู่อาศัย ที่ซึ่งอุปทานนั้นเป็นบ้าน และอพาร์ตเมนต์ ซึ่งบางคนอาจต้องการขาย หรือปล่อยเช่า และอุปสงค์ก็คือบุคคลผู้ซึ่ง อยากย้ายเข้ามา ในสถานที่ที่ขายหรือเปล่าเช่า เพื่อให้มีที่อยู่อาศัย ตลาดที่ต่างกันจะมีกลไก ที่ไม่เหมือนกัน โมเดลนี้มีอุปสงค์และอุปทาน เป็นพื้นฐานของทุกตลาด แต่มันก็ไม่ใช่ภาพของทั้งหมดหรอกนะ ลองใช้เค้กเป็นตัวอย่างสิ คือถ้ามีเงินซื้อเค้กมันก็ดี แต่ถึงจะไม่มี ก็ไม่เห็นเป็นอะไรนี่ แต่ในทางกลับกัน ทั้งงานและที่อยู่อาศัย ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกคนขาดไม่ได้ ดังนั้นตลาดเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ มีอิทธิพลต่อหลายประเทศ ผ่านการตัดสินใจทางการเมือง และกฎหมายต่างๆ มันไม่ปกตินักหรอกที่จะได้เห็น การอภิปรายทางการเมือง หรือกฎหมายใหม่ๆ ที่เป็นประเด็น เรื่องเค้กน่ะ