
ระบบการเลือกตั้งในอิหร่าน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? ทุกคนในอิหร่านสามารถลงสมัครเพื่อรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีได้ เมื่อมีอายุครบ 18 ปี
นี่คือเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน และนี่คือแดนนี่ เธอแทบบ้าเพราะอากาศแย่มาก เธอต้องจัดการอะไรบางอย่างแล้วแหล่ะ เธอต้องเดินเข้าสู่หนทางแห่งอำนาจ แล้วจะทำแบบนั้นได้ยังไงล่ะ? ถ้าเราอยากเปลี่ยนแปลงสิ่งใด เราต้องลงสมัครเลือกตั้ง เพื่อเราจะได้มีส่วนร่วมตัดสินใจ ในการบริหารเงินงบประมาณ ในอิหร่าน ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ ตัดสินใจเรื่องงบประมาณของประเทศ เธออยากเป็นประธานาธิบดีไหมล่ะ? แดนนี่ โอเค แต่ไม่แน่ใจนะว่าเธอจะได้รับ อนุญาตไหมนะ อิหร่านให้ความสำคัญกับศาสนามาก อิหร่านเป็นรัฐศาสนา ที่กฎหมายทั้งหมดจะต้อง สอดคล้องกับศาสนา รัฐที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนา แบบนี้เรียกว่าเทวาธิปไตย อิหร่านยึดถือ 1 ใน 2 นิกาย ของศาสนาอิสลาม คือชีอะฮ์ ดังนั้น การเป็นประธานาธิบดี เธอจะต้องเป็นมุสลิมชีอะฮ์ แต่นั่นยังไม่พอนะ ในอิหร่านยังมีกลุ่มบุรุษ ที่ทำหน้าที่พิทักษ์ศาสนา และพวกเขาถูกเรียกว่า สภาผู้พิทักษ์ สภาผู้พิทักษ์จะตัดสินใจ ว่าเธอจะได้รับอนุญาตให้ลงสมัครไหม และหากสภาผู้พิทักษ์ไม่เห็นด้วย กับสิ่งที่เธอเสนอ เช่น สมมติว่าเธออยากให้ ยกเลิกโทษประหารชีวิต สภาผู้พิทักษ์อาจตัดสินใจ ไม่อนุญาตให้เธอลงสมัครรับการเลือกตั้ง แล้วการเป็นผู้หญิงล่ะ? จริงๆแล้วก็ไม่มีกฎหมายใด ที่ห้ามไม่ให้ผู้หญิงเป็นประธานาธิบดีนะ ซึ่งแปลกมากที่สภาผู้พิทักษ์ ไม่ได้คัดค้านเรื่องนี้ ไม่เชื่อก็ลองดูสิ แต่ว่าเธออาจต้องสวมผ้าคลุมศีรษะ ใช่แล้ว ผู้หญิงทุกคนในอิหร่าน ก็ต้องสวมผ้าคลุมเมื่ออยู่นอกบ้าน และถ้าเธอต้องการเปลี่ยนกฎหมายนี้ ก็อย่าให้สภาผู้พิทักษ์รู้ก็แล้วกัน ดูสิ พวกเขาอนุญาตแล้วล่ะ ตอนนี้ เธอสามารถลงสมัคร รับเลือกตั้งประธานาธิบดีได้แล้ว การเลือกตั้งประธานาธิบดี จะเกิดขึ้นในทุกๆ 4 ปี และประชาชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ก็สามารถเลือก 1 ในตัวแทน ที่สภาพิทักษ์ได้อนุญาตให้ลงเลือกตั้งได้ ในการเป็นประธานาธิบดี เธอต้องมีคะแนนสูงสุด หรืออันดับ 2 ของการเลือกตั้ง จากนั้นจะมีการลงคะแนนเสียงครั้งที่ 2 ระหว่างผู้สมัครทั้งสอง และจะต้องได้คะแนนเสียงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์จึงจะชนะ และกลายเป็นประธานาธิบดี แล้วต้องเสนอชื่อของบรรดารัฐมนตรี ตัดสินใจนโยบายด้านการต่างประเทศ รวมถึงงบประมาณของประเทศด้วย แต่เธอไม่อาจออกกฎหมายได้นะ นั่นเป็นหน้าที่ของรัฐสภา หากเธออยากลงสมัครรับเลือกตั้งในรัฐสภาแทน เธอจะต้องได้รับการอนุมัติ จากสภาผู้พิทักษ์เช่นกัน การได้รับเลือกเข้าสู่รัฐสภา ไม่จำเป็นต้องเป็นมุสลิมนิกายชีอะฮ์ เห็นไหมว่ามีที่นั่งบางส่วน ที่ถูกจองไว้ สำหรับชนกลุ่มน้อยของประเทศ แต่รัฐสภาไม่อาจบัญญัติกฎหมายใดๆ ก็ได้ตามที่พวกเขาต้องการ ในอิหร่านกฎหมายจะต้องเป็นไปตาม การตีความของการปกครองตามหลักอิสลาม รัฐสภาเองก็มีภารกิจสำคัญเช่นกัน พวกเขาจะเสนอชื่อสมาชิกของสภาผู้พิทักษ์ 6 จาก 12 คน และอีก 6 คนจะถูกเลือกโดยประมุขแห่งรัฐ ซึ่งไม่ใช่ประธานาธิบดี ในอิหร่านประมุขแห่งรัฐคือผู้นำสูงสุด ผู้ซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในประเทศ โดยการควบคุมกองทัพ ศาล รัฐบาล โทรทัศน์ และมีอำนาจตัดสินใจเรื่องประเด็นทาง การเมืองที่สำคัญต่างๆ อยากเป็นผู้นำสูงสุดหรือเปล่าล่ะ? ถ้าอยาก ก็ต้องรอหน่อยนะ เพราะตำแหน่งนี้จะอยู่ไปตลอดชีวิต ผู้นำสูงสุดไม่ได้มาจาก การเลือกตั้งของประชาชน เขาได้รับเลือกจากทีม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย หรือ กลุ่มสมัชชาผู้เชี่ยวชาญ และพวกเขาจะถูกเลือกมา ในแบบเดียวกับรัฐสภา โดยสภาผู้พิทักษ์จะต้องอนุมัติ ผู้สมัครก่อน แล้วจึงเป็นการเลือกตั้งจากประชาชน จะเห็นว่ามีการเลือกตั้ง สาธารณะต่างๆในอิหร่าน และผู้ที่ได้รับเลือก อย่างน้อยก็มีอิทธิพลต่อบุคคล ผู้ที่จะเข้ามานั่งในสภาผู้พิทักษ์ แต่สภาผู้พิทักษ์จะเป็นผู้ตัดสินว่า ใครจะได้รับอนุญาตให้ เข้าร่วมสมัครรับเลือกตั้ง อีกทั้งพวกเขายังสามารถยับยั้ง ใครก็ตามที่ไม่ออกความเห็น โอเค เธอคิดว่าระบบของอิหร่าน ยุติธรรมหรือไม่ล่ะ? เพียงพอต่อการเป็นประชาธิปไตยไหม? เธอไม่อยากเป็นประธานาธิบดี ของอิหร่านแล้วเหรอ? แน่นอน ยังมีหลายประเทศ ที่พร้อมจะให้เธอเข้าไปปกครองแทน