
กลยุทธ์การอ่าน : การคาดการณ์

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
เราควรใช้การทำนาย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การอ่านเมื่อไหร่?
อะไรที่ดึงดูดความสนใจ และทำให้เรา อยากอ่านหนังสือหรืองานเขียน? เราอาจทำเหมือนคนอื่นๆ คือหยิบหนังสือมาดูแล้วถามตัวเองว่า หนังสือเล่มนี้มันเกี่ยวกับอะไร? เราอาจดูชื่อเรื่องหรือผู้แต่ง หรือประเภทของหนังสือ แต่ถ้ารู้สึกสงสัยขึ้นมา เราก็จะอ่านที่ปกหลังของมัน และเปิดหน้าหนังสือออกมาดู ก่อนจะตัดสินใจ เมื่อไหร่ที่เราทำแบบนี้ กระบวนการจะเริ่มเกิดขึ้นในสมอง ความคิดที่เกี่ยวกับหนังสือนั้น จะสร้างความสนใจให้เกิดขึ้น ขั้นตอนนี้คือกลยุทธ์การอ่านอย่างหนึ่ง: คือการทำนาย ในฐานะนักอ่านหนังสือ เราจะใช้กลยุทธ์นี้ในการ เลือกอ่านอะไรใหม่ๆ แต่การทำนายก็นำมาใช้ ในขณะที่เรากำลังอ่านหนังสือด้วย ในขณะที่อ่านหนังสือ ความคิดจะแล่นอยู่ตลอดเวลา เราทำนายว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งมาจากทั้งสิ่งที่เราอ่าน และจากประสบการณ์ของเราเอง ครั้งต่อไปที่อ่านนิยาย หรือเรื่องอะไรก็ตาม ลองหยุดพักตั้งสติสักนิด แล้วถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ ตอนนี้กำลังเกิดอะไรขึ้น? ตัวละครหลักกำลังจะทำหรือพูดอะไร? จะมีตัวละครตัวไหนโผล่มาอีก? แล้วทำไมต้องเป็นแบบนั้น? บางทีเราอาจสังเกตว่านี่ทำให้ เรากระตือรือร้นขึ้น และสร้างประสบการณ์การอ่าน ได้ลึกซึ้งขึ้น กลยุทธ์การทำนาย ยังเป็นเทคนิคการเรียนรู้ที่ดี เมื่อเรามีการทำนายงานเขียน เชิงข้อเท็จจริง เราจะเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ทั้งยังทำให้จำเรื่องที่เคยอ่าน ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย การจะทำเช่นนี้ได้ต้องมี 2 สิ่งด้วยกัน สิ่งแรกคือความสงสัย เมื่อมีการทำนาย เราจะยิ่งอยากรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดตามมา ทั้งยังทำให้การเรียนรู้ง่ายและสนุกขึ้น สิ่งที่สอง ถ้าเรามีความคิด ถึงสิ่งที่อยู่ข้างหน้า ก่อนที่เราจะอ่านถึง เราจะเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น การพัฒนาความเข้าใจล่วงหน้า สำหรับสิ่งที่เรากำลังอ่านอยู่ จะทำให้เนื้อหา น่าติดตามและน่าสนใจขึ้น และถ้ามีบทสรุปในตอนท้าย ของเรื่องที่เราอ่าน ก็ให้ลองอ่านตรงนั้นก่อน ก่อนที่เราจะทำนายส่วนอื่นๆที่เหลืออยู่ นั่นจะทำให้เราเข้าใจเหตุการณ์ล่วงหน้า ก่อนที่เราจะลุยอ่านด้วยซ้ำ ในทำนองเดียวกัน เราอาจเริ่ม อ่านที่หัวเรื่อง บทนำ และคำบรรยายต่างๆ จากนั้นก็ตั้งคำถามขึ้นมา เช่น เนื้อหาที่อ่านจะเกี่ยวข้องกับอะไร? เรารู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้มาบ้าง? มีอะไรบ้างที่ไม่ชัดเจน? อะไรบ้างที่เราอยากรู้? จากนั้นจึงใช้กลยุทธ์การทำนายการอ่าน มาเป็นเทคนิคการเรียนรู้ตลอดทั้งการอ่าน หยุดตรงแต่ละหัวเรื่องและทำนายดูว่า มันจะมีอะไรเกิดขึ้นในส่วนนี้? มันจะทำให้การอ่านน่าสนใจขึ้น และเราก็จะจำเนื้อความได้ดีขึ้นเช่นกัน กลยุทธ์การทำนายการอ่าน ยังใช้ได้ดีเมื่อเราอ่านงานเขียน เชิงโต้แย้ง เช่น เจตคติและความคิดเห็น ในสื่อสังคมออนไลน์ ข้อความแบบนี้มีผลกระทบ และส่งอิทธิพลต่อความคิดเห็นของเรา ดังนั้น เราต้องพร้อมรับมือในส่วนนี้ และอ่านมันอย่างมีวิจารณญาณ ถ้าเรารู้ว่านี้คืองานเขียนเชิงโต้แย้ง ให้เราเริ่มใช้การทำนายได้เลย ว่าอะไรคือแนวคิดที่ผู้เขียน ต้องการชักจูงให้เราเห็นด้วยกับเขา อ่านหัวเรื่อง คำบรรยายภาพและ บทสรุปที่ท้ายข้อความ พิจารณาถึงแหล่งที่มา เช่น ใครเป็นคนเขียน ความคิดเห็นปกติของเขาคืออะไร? ผู้เขียนเป็นตัวแทนขององค์กร, บริษัท หรือพรรคการเมืองใดหรือไม่ เมื่อเราคาดเดาเกี่ยวกับ สิ่งที่ผู้เขียนต้องการ โน้มน้าวให้เราเชื่อ มันจะง่ายขึ้นในการหา ข้อบกพร่องที่อยู่ในประเด็น หรือข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนตัดทิ้งไป ซึ่งไม่สนับสนุนความคิดของเขา ถ้าเราเป็นนักอ่านตัวยง เราจะใช้กลยุทธ์การทำนาย ในเรื่องเล่า เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ ลึกซึ้งและได้อรรถรสขึ้น ในฐานะเป็นเทคนิคการเรียนรู้ ทำให้งานเขียนเชิงข้อเท็จจริงต่างๆ เข้าใจง่าย และจำได้ง่ายขึ้น และสำหรับงานเขียนเชิงโต้แย้ง ทำให้เราเจาะประเด็นที่ผู้เขียนต้องการ สร้างอิทธิพลต่อเราได้ เมื่อเราลงมืออ่านอย่างจริงจัง เราจะคาดเดาได้ทั้งก่อนอ่าน และในขณะที่เราอ่านด้วย