
กลยุทธ์การอ่าน : ความเชื่อมโยงของข้อความ

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? การอ่านแบบมีส่วนร่วมคือการอ่านตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่ปกหน้าไปจนถึงปกหลัง
เคยอ่านหนังสือสักเล่มไหม แล้วจำตัวเองตอนนั้นได้ไหม? เคยคิดไหมว่่าไปอ่านมาตอนไหน? บางทีเราก็รู้สึกว่าหนังสือที่อ่านอยู่ มันก็คล้ายกับเล่มที่เราเคยอ่าน หรืออาจเป็นหนังที่เคยดู เมื่อผู้แต่งประพันธ์งานเขียนขึ้นมา เขามักได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตจริง และเหตุการณ์รอบตัว และชีวิตของเราหลายๆอย่าง ก็ค่อนข้างคล้ายกับชีวิตของคนอื่นๆ จริงๆ แล้วเราทุกคนก็ไม่ได้ต่างกันนักหรอก ดังนั้น เมื่อเราอ่านงานเขียนอย่างจริงจัง เราจะเชื่อมโยงสิ่งที่กำลังอ่าน และสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วเข้าด้วยกันได้ กลยุทธ์การอ่านนี้คือ: "การเชื่อมโยงเนื้อความ" บางทีเราก็คิดว่าผู้แต่งได้ จัดการทุกอย่างไว้หมดแล้ว แล้วเราก็แค่อ่านเรื่องราวตั้งแต่ ต้นจนจบแบบนั้นใช่ไหมล่ะ? ไม่ใช่เลย เมื่อเราลงมืออ่านมัน อย่างจริงจัง เนื้อหาอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในนั้น ถูกสร้างขึ้นด้วยตัวเราเอง ในหัวของเรา และ 1 ในวิธีที่เราทำก็คือ "การเชื่อมโยงเนื้อความ"นี่แหละ เราสามารถเชื่อมโยงเนื้อความ กับสิ่งต่างๆ ได้ดังนี้ เชื่อมกับตัวเอง และประสบการณ์ของเรา :เนื้อความ-กับ-ตัวเอง เชื่อมกับเนื้อความอื่นๆที่ได้อ่าน หรือหนัง หรือละครที่เคยดู เราเรียกมันว่า เนื้อความ-กับ-เนื้อความ เชื่อมกับประสบการณ์ของคนอื่น และสิ่งที่เรารู้จัก เนื้อความ-กับ-โลก มาดูการเชื่อมโยงแต่ละแบบกัน เริ่มด้วย เนื้อความ-กับ-ตัวเอง เมื่อเราอ่านนิยาย,หนังสือประวัติศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ไปได้ส่วนหนึ่ง ให้หยุดซักพักก่อน! แล้วลองนึกถึงเรื่องที่เพิ่งอ่านไป แล้วลองตอบคำถามพวกนี้ดู ข้อความนี้ทำให้เรานึกถึงอะไรในชีวิตบ้าง? ถ้าเรื่องนี้เกิดกับเราๆจะรู้สึกอย่างไร? มีอะไรในตัวเราบ้างที่คล้ายคลึง กับตัวละครนี้? แล้วเรากับตัวละครนี้ต่างกันอย่างไร? ตอนนี้เราได้เชื่อมโยงเนื้อความกับตัวเอง และประสบการณ์ของตนเองไปแล้ว การเชื่อมโยงแบบถัดไป คือสิ่งที่เกิดจากเนื้อความ ที่เรากำลังอ่าน กับเนื้อความอื่นๆ ที่เคยอ่าน,ได้ยิน หรือได้เห็นมาแล้ว เนื้อความ-กับ-เนื้อความ หยุดการอ่านไว้สักครู่หนึ่ง แล้วมาตอบคำถามพวกนี้: มีเรื่องราวอะไรอื่นอีกบ้าง ที่เตือนความทรงจำของเรา? มีหนังสือและภาพยนตร์อันไหนบ้าง ที่มีบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อม คล้ายๆกัน? เรื่องราวอื่นๆ ที่เราได้อ่านมีแนวคิด และข้อคิดเห็นใดที่คล้ายกันบ้าง? ตอนนี้เราได้เชื่อมเนื้อความ ที่เรากำลังอ่าน กับเนื้อความอื่นๆที่เราเคยอ่านแล้ว มาดูการเชื่อมโยงแบบสุดท้าย คือการเชื่อมโยงแบบ: เนื้อความ-กับ-โลก ให้อ่านหนังสือไปส่วนหนึ่งตามปกติ แล้วหยุดสักพัก และถามตัวเองว่า: อะไรที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรา, ครอบครัว, โรงเรียนหรือเมืองที่เราอยู่ ที่ทำให้เรานึกถึงสิ่งที่เพิ่งอ่านไป? มีคนรู้จักของเราคนไหนบ้าง ที่จะคิดและปฏิบัติเหมือนกับ คนในเรื่องที่อ่าน? สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องที่อ่าน กับโลกที่เราคุ้นเคยนั้นต่างกันอย่างไร? ตอนนี้เราได้เชื่อมโยงเนื้อความ กับโลกที่อยู่รอบตัวเราแล้ว หยุดตั้งสติสักครู่ แล้วทำการเชื่อมโยง เนื้อหาลักษณะนี้ เพราะสมองของเราจะตื่นตัวมากขึ้น ในขณะที่เรากำลังอ่าน ซึ่งกระตุ้นหลายๆส่วนของเรื่องราว รวมทั้งผู้เขียนอาจบอกถึงสิ่งอื่นๆ ที่เราได้พลาดไป เราจะได้อะไรมากขึ้นจากเนื้อความนี้ และประสบการณ์การอ่านของเรา จะขยายวงกว้าง เมื่อเราทำการเชื่อมโยงเนื้อความ อย่างมีสติ เช่นนี้ จะสังเกตได้ว่า เราสามารถอ่าน เรื่องราวต่างๆ ที่เคยเป็นเรื่องยากต่อความเข้าใจ "การเชื่อมโยงเนื้อความ" ช่วยให้เราเข้าใจโลกรอบตัวเรา ทั้งเข้าใจคนอื่นและตัวเราเองได้ดีขึ้น