
กลยุทธ์การอ่าน : คำยาก

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรืเท็จ? บางครั้งมันก็เป็นความคิดที่ดีในการหาคำยากในอินเตอร์เน็ต
บางครั้งเราอาจต้องเจอกับเนื้อความที่ยากๆ แล้วมันก็ยากจนทำให้เรา ไม่เข้าใจในสิ่งที่อ่านอยู่ และมันก็เสี่ยงที่ประสบการณ์ การอ่านของเรา จะถูกทำลาย จนทำให้การอ่าน ไร้ความหมาย จริงหรือเปล่าที่ผู้เขียน จะเขียนอะไรไม่ได้เลย ถ้าใช้คำและสำนวนที่เรียบง่ายน่ะ ไม่จริงเลย บางครั้งเรื่องราวที่เขียนขึ้นมานั้น ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนให้ยาก แต่มันยังมีข้อดีมีอยู่เยอะ ถ้างานเขียน จะร่ำรวยไปด้วยคำศัพท์ที่หลากหลาย มันทำให้บทประพันธ์มีชีวิตชีวา และให้รายละเอียดที่ชัดเจน หากปราศจากคำศัพท์พิเศษ และแนวคิดที่แต่ละเรื่องมี งานเขียนเชิงข้อเท็จจริง จะขาดความแม่นยำ เมื่อการเล่าเรื่อง, ความคิดเห็นหรือ ข้อเท็จจริงก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม ศัพท์ขั้นสูงจึงจำเป็นต้องนำมาใช้ เพิ่มเติมเช่นกัน แต่ในฐานะนักอ่านตัวยง เราจะไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ในการอ่านเรื่องที่มีศัพท์ที่ยากขึ้น รวมทั้งสำนวนที่เราไม่คุ้นเคย ให้ใช้กลยุทธ์การอ่านที่เรียกว่า "การอ่านคำยาก" กลยุทธ์การอ่านนี้มีอยู่ 4 กลวิธี ดังนั้น มาลองอ่านและจัดการ กับคำยากเหล่านี้ทีละจุดกัน เกล็ดหิมะเหล่านั้นโปรยปรายลงมา สัมผัสกับหน้าต่างที่บ้านของเฟลิเซีย ความเหน็บหนาวของ "เหม-มัน-ฤ-ดู-กาน-ละ" ช่างยาวนาน "เหม-มัน-ฤ-ดู-กาน-ละ" "คืออะไร? ได้เวลาที่เราต้องใช้กลวิธีที่หนึ่งแล้ว กลับไปอ่านคำนั้นให้ละเอียดอีกครั้ง และจงมั่นใจว่าเราออกเสียงครบทุกพยางค์ เราอาจจะอ่านบางคำตกไป เห-มัน-ต-ฤ-ดู-กาล มันคือ"เหมันตฤดูกาล" นั่นเอง! ก็แค่เนี้ยะ ถ้าวิธีนี้ไม่ได้ผลให้ใช้กลวิธีที่ 2 โดยอ่านทั้งประโยคหรือย่อหน้านั้นอีกครั้ง เนื่องจากเรารู้บริบทเพิ่มเติมแล้ว การได้อ่านครั้งที่ 2 ความหมายของคำอาจเผยออกมาเอง และมันอาจเป็นคำหรือสำนวน ที่เรานึกออกได้ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่คำที่เราใช้ กันตามปกติ แต่เราเคยเรียนรู้มันมาก่อน "คริสต์มาสกำลังใกล้เข้ามาแล้ว และฤดูหนาวที่แท้จริงก็ได้มาถึง เพียงคิดดูว่ายังไงเราก็จะมี คริสต์มาสสีขาว" อะไรคือคริสต์มาสสีขาว? ใช่แล้ว มันหมายความว่าอะไรกัน? อืม...เกล็ดหิมะ... ฤดูหนาวที่แท้จริง... คริสต์มาสสีขาว...มันก็คือหิมะไงล่ะ คริสมาสต์สีขาวก็หมายถึงคริสต์มาส ที่มีหิมะเต็มพื้นดินไปหมด อดทนซักหน่อยหนึ่งแล้ว เราจะเข้าใจความหมาย จากการดูบริบทแวดล้อม ลองอ่านประโยคตรงนี้อีกครั้ง และข้ามคำยากไปก่อน คำใดเหมาะจะเติมลงไป ในช่องว่างที่สุด? คำไหนที่สมเหตุสมผล? พิจารณาดูว่าอะไรเกิดขึ้นในเรื่องในตอนนี้ มีเบาะแสอะไรบ้างอยู่ในย่อหน้าก่อน หรือหลัง? มีภาพที่อาจให้เบาะแสกับเราบ้างไหม? หากบริบทแวดล้อมที่มีไม่ช่วยอะไรเรา ก็ให้ใช้กลวิธีที่ 3 การแยกคำออกเป็นส่วนๆ "เฟลิเซียสวมเสื้อแจ็กเก็ตและรองเท้า และพันผ้าพันคอขนสัตว์รอบคอของเธอ ทั้งยังดึงหมวกลงต่ำเพื่อคลุมใบหูของเธอ เธอมี "สัม-ผัส-พิ-ศวง" รู้ล่วงหน้าว่ามันจะหนาวมากๆ "สัม-ผัด-พิ-สวง"? "สัม-ผัด-พิด-วง"? รึจะเป็น "สัม-ผัด-พิด-สะ-หวง" ใช่เลย! แยกคำเป็นส่วนๆ แล้วดูว่าคำที่แยกส่วนเหล่านี้ อันไหนเข้าใจง่าย ต่อการหาเบาะแส อืม ก็คำว่าสัมผัส อ่านว่า สัม-ผัด และพิศวง อ่านว่า พิด-สะ-หวง รวมกันมันจึงเป็น "สัมผัสพิศวง" ไงล่ะ ถูกต้องเลย 3 กลวิธีแรกที่เราได้พูดไปคือ 1) อ่านคำนั้นให้ละเอียดถี่ถ้วน อ่านทุกพยางค์ให้ครบ 2) อ่านทั้งย่อหน้า และใช้บริบทแวดล้อมมาช่วยเดาความหมาย 3) การแยกคำหรือสำนวนออกมาเป็นส่วนๆ จากนั้นค่อยตีความหมายออกมาทีละคำ เอาล่ะ ถ้าทั้ง 3 กลวิธีไม่ช่วยอะไร ก็ให้ใช้กลวิธีที่ 4 คือถามผู้เชี่ยวชาญไปเลย แต่ถ้าไม่มีคนที่เชื่อถือได้ อยู่แถวนั้นล่ะก็ อินเทอร์เน็ตก็เป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมจะช่วยเราเสมอ