
กลยุทธ์การอ่าน : การสร้างจินตภาพ

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? กลยุทธ์การจินตนาการใช้ได้กับการอ่านนิยายเท่านั้น
มีใครเคยดูหนังหรือละคร หลังจากอ่านนิยายไปแล้วบ้างไหม? ตัวละครในหนังหรือละคร มันเหมือนกับที่เราคิดไว้หรือเปล่า? แล้วพวกฉาก, สถานที่หรือบรรยากาศ ที่อยู่ในหนัง มันเหมือนกับ สิ่งที่เราสัมผัสได้จากในหนังสือไหมล่ะ? ก็คงไม่นะ เพราะภาพที่เกิดขึ้นในหัว ตอนที่เรากำลังอ่านอย่างเมามัน มันคือภาพที่เราสร้างขึ้นมาเอง และเป็นมโนภาพของเราล้วนๆ ไม่ใช่เพียงแค่ภาพ แต่เรายังสร้างรส กลิ่น เสียง ขึ้นมาด้วย จินตนาการขณะอ่านหนังสือ มีข้อดีหลายอย่าง ถ้าเรากำลังอ่านนิยาย ภาพนั้นจะช่วยให้หนังสือ ดูมีชีวิตชีวาขึ้นมา เต็มไปด้วยรายละเอียดต่างๆ รวมทั้งสิ่งที่ไม่ได้เขียนลงไปด้วย ถ้าเราเคยดูหนังสักเรื่องมาก่อนที่ จะได้อ่านหนังสือ โอกาสในการเป็นผู้ร่วมสร้างเรื่องราว ของเรา ก็จะหลุดลอยไป แต่ถ้าเราเป็นนักอ่านตัวยง เราอาจคิดได้ว่า "ฉันทำได้โดยอัตโนมัติ ตอนฉันอ่านหนังสือ" มันอาจจะจริง แต่ยังไงก็ต้องลองนะ จงหยุดและจินตนาการอย่างมีสติ เมื่อเราอ่านหนังสือไปได้ส่วนหนึ่ง ให้หยุดพักสักครู่ แล้วหลับตาลง แล้วจินตนาการถึงฉากในนิยาย ที่เรากำลังอ่านอยู่ มันอยู่ในร่มหรือกลางแจ้ง? กำแพงมีลักษณะอย่างไร? ในฉากนั้นมีเฟอร์นิเจอร์ไหม? แล้วมันทำมาจากอะไร? มันใหม่หรือว่าเก่า? มีใครอยู่ในฉากนั้นบ้าง? พวกเขาใส่เสื้อผ้าแบบไหน? มีสีและทอมาจากอะไร? เก่าเสื่อมสภาพหรือของใหม่สดใส? ใบหน้าของตัวละครเป็นอย่างไร? อ่อนเยาว์และเรียบเนียน หรือว่ามีริ้วรอยและสูงวัย? พวกเขาดูหนักแน่น, ขี้โมโห, เปิดเผยหรือช่างสงสัย? เมื่อเราหยุดพักการอ่านแล้วจินตนาการ เราจะเกิดโอกาสต่อการสร้างสรรค์ภาพ ให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ต่างจากกลยุทธ์การอ่านอื่นๆ เราสามารถจินตนาการได้ ไม่เพียงแต่ในขณะอ่านเท่านั้น ทั้งก่อนอ่านและหลังอ่านก็ทำได้ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่การอ่านนิยาย ที่ช่วยให้เราเกิดจินตนาการ หากเราอยากจำและเข้าใจงานเขียน เชิงข้อเท็จจริงให้ดีขึ้นล่ะก็ ลองใช้วิธีนี้สิ พักการอ่านของเราไว้ แล้วเขียนหรือวาดสัญลักษณ์ ที่จะเป็นกุญแจไปสู่แนวคิด จากนั้น ให้วาดเส้นและลูกศร ไปยังแนวคิดต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องที่เราอ่าน แยกประเภทข้อมูล, แล้วทำให้มันเป็นโครงสร้าง เหมือนภาพๆหนึ่ง หรือทำแบบนี้: นึกภาพคนขึ้นมากลุ่มหนึ่ง ซึ่งกระทำและพูดสิ่งต่างๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของข้อเท็จจริง ที่เราต้องเรียนรู้ แต้มสีฉากทั้งหมดในหัวของเรา ภาพที่ชัดเจนจะง่ายต่อการจำ มากกว่าการจดข้อเท็จจริง สำหรับคนส่วนใหญ่ไม่นาน การจินตนาการจะกลายเป็น ประสบการณ์การอ่านที่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่มันใช้ไม่ได้ผลสำหรับบางคน สมองของคนเราถูกสร้างขึ้นมาต่างกัน และไม่สำคัญว่าพวกเขาจะพยายาม จินตนาการมากแค่ไหน สิ่งที่พวกเขาคิดก็ยังไม่ใช่ภาพอยู่ดี อย่างไรก็ดีการอ่านยังเป็นเรื่อง ที่น่าสนุก โดยต้องดึงเอากลยุทธ์การอ่านอื่นๆ มาใช้แทน สำหรับผู้ที่จินตนาการเป็น ให้คว้าหนังสือเล่มที่ใกล้ที่สุดมา แล้วมาเริ่มสร้างภาพที่เกิดจากภายในกัน