
ตัวอย่าง : งานเขียนเชิงข้อเท็จจริง

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
นิเวศวิทยา! ตื่นเต้นจัง! ถ้าอยากเข้าใจและได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ต้องใช้วิธีอ่านแบบมีส่วนร่วม เมื่อเราอ่านงานเขียนเชิงความรู้ นี่ไม่สงสัยอะไรบ้างเลยเหรอ? นึกถึงสิ่งที่เรารู้มาแล้วและ เกี่ยวข้องกับหัวข้อสิ แล้วเราก็จะจำและเข้าใจมันได้ง่ายขึ้น ในสิ่งที่เราอ่าน นำกลยุทธ์การทำนายมาใช้ ก่อนเริ่มอ่านหนังสือ เราต้องอ่านหัวเรื่องก่อน "นิเวศวิทยา"และ"ระบบนิเวศ"คืออะไร? หัวเรื่องบอกเอาไว้ว่า นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับนิเวศวิทยา และระบบนิเวศต่างๆ และเราเองอาจรู้อยู่แล้วว่า นิเวศวิทยาและระบบนิเวศ ต้องเกี่ยวข้องกับพืชและสัตว์ ข้ามบทนี้ไปที่ท้ายบทแล้วอ่านบทสรุป "นิเวศวิทยาเป็นศาสตร์แห่งการปฏิสัมพันธ์ ทางธรรมชาติ" "ในระบบนิเวศหนึ่ง องค์ประกอบที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ จะมีปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบ ที่มีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งกับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตด้วย เช่น ภูมิอากาศ, น้ำ, อากาศและสารอาหาร" ตอนนี้เราก็รู้แล้วว่านิเวศวิทยาก็คือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชและสัตว์ในธรรมชาติ และเรายังรู้ด้วยว่าเรากำลังจะเรียนรู้ ว่าระบบนิเวศคืออะไร ตอนนี้เราได้ใช้การทำนายไปบ้างเล็กน้อย เป็นการจุดประกายความสงสัยของเรา ได้เวลาเปิดหนังสือแล้วล่ะ "การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของ สิ่งมีชีวิต เรียกว่า นิเวศวิทยา" แล้วระบบนิเวศคืออะไรล่ะ? ไม่จำเป็นเลยที่ต้องศึกษานิเวศวิทยา เพื่อให้เห็นว่า ชีวิตของพืชและสัตว์แตกต่างกันไป ในแต่ละสถานที่ ป่าสนกับป่าผลัดใบแตกต่างกันค่อนข้างสูง ถิ่นที่อยู่ทุกแห่งมีสังคมพืชและสัตว์ ไปตามแบบฉบับของตัวเอง ทีนี้ลองนึกภาพป่าสนและป่าผลัดใบ จินตนาการขึ้นจากภายใน วิธีนี้จะทำให้เราจำข้อเท็จจริงได้ดีขึ้น การสังเกตเห็นความแตกต่างจากภาพ ง่ายกว่าจากที่เนื้อหาบรรยาย เห็นป่าอยู่ข้างหน้าเราไหมล่ะ? - มันดูต่างกันมากไหม? - โอ้ แต่ทำไมชีวิตของพืชและสัตว์ ถึงต่างกันขนาดนี้ล่ะ? "ความแตกต่างของรูปแบบการดำเนิน ชีวิตของพืชและสัตว์ ในถิ่นที่อยู่ที่ต่างกันขึ้นอยู่กับแสง, ความอบอุ่น, น้ำ และสารอาหาร; นี่คือปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม" "ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม"เหรอ? ยากจัง มันหมายความว่ายังไงน่ะ? ตอนนี้เราต้องหยุดไว้ก่อน แล้วใช้กลยุทธ์ การทำความเข้าใจคำและสำนวนยาก ให้แยกมันออกมาเป็นคำๆ ก่อน ปัจจัย-สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม'มีความหมาย เหมือนกับ'ธรรมชาติ' ส่วน'ปัจจัย'คือสิ่งที่ร่วมกันส่ง ผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ ดังนั้นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมคือ สิ่งต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อธรรมขาติ ขึ้นอยู่ว่าพวกมันร่วมกันส่งผลอย่างไร "ระบบนิเวศอาจมีขนาดเล็กเท่ากับ กองของมูลวัวกองหนึ่ง, หรือใหญ่เท่ากับป่าสน, โลกทั้งใบก็จัดเป็นระบบนิเวศ ขนาดใหญ่ระบบหนึ่ง" สิ่งนี้พอจะทำให้เห็นภาพจากภายในไหม? ไม่นานเราต้องได้อ่านงานเขียน เชิงความรู้อีกมากมาย แต่การจะทำให้สิ่งที่เราได้อ่านไป กลายมาเป็นความรู้ของเรา ไม่ใช่เป็นความรู้ของหนังสือ เราต้องสรุปเรื่องทั้งหมด เน้นย้ำข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุด จากเนื้อหา ด้วยถ้อยคำของเราเอง จงใช้กลยุทธ์การสรุป เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับนิเวศวิทยา? พูดออกมาด้วยคำพูดของตัวเองซิ! อืม ก็ได้ "บุคคลที่กำลังศึกษาว่าต้นสน กับนักโจมตีอย่างกระรอก ร่วมกันต่อต้านหนุ่มหล่อไร้เดียงสา กำลังทำงานกับระบบนิเวศ" เอิ่ม โอเค แล้วที่พูดออกมาเนี่ย อะไรคือระบบนิเวศเหรอ? "ระบบนิเวศก็คือเมื่อคน และอุจจาระ ซึ่งได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ จะส่งผลต่อกันเมื่ออยู่ในบริเวณเดียวกัน ในทางที่ไม่ดี" ทำได้ดีมากทอมมี่! เธออาจสรุปไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็ได้ทำออกมาเป็น คำพูดของตัวเองแล้ว และนั่นคือวิธีที่เราจะทำให้ ความรู้ของหนังสือ กลายมาเป็นความรู้ของเราเอง