
การพูดแบบบอกเล่า

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
วันนี้เรามากันที่โรงเรียน สอนขี่ม้าของมาเรีย มาเรียตั้งใจจะนำเสนองานมาก แต่เธอรู้สึกเป็นกังวล มันค่อนข้างน่ากลัวที่จะพูด ต่อหน้าประชุมชน การนำเสนอต่อหน้าคนกลุ่มหนึ่ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การบรรยาย การปราศรัย หรือการสาธิต ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้าเรารู้สึกเป็นกังวล ก็ต้องเตรียมตัวไว้ให้ดีก่อน มันจะทำให้กลัวน้อยลง มาเรียกำลังครุ่นคิดว่า จะนำเสนองานแบบไหน เธอจะพูดเรื่องกีฬาขี่ม้า ซึ่งเป็นหัวข้อของเธอ การพูดที่ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง คือการบรรยายเชิงสาระ มาเรียยังต้องพิจารณาว่า ใครคือผู้ฟังของเธอ ผู้ฟังอาจเป็นเด็กเล็กๆและผู้ปกครอง และถ้าผู้ฟังดูคุ้นเคยกับคอกม้า การนำเสนอนั้นอาจต้องแตกต่าง สิ่งนี้เรียกว่าการปรับการบรรยายต่อผู้ฟัง ซึ่งจะต้องเหมาะกับผู้ฟัง บ่อยครั้งที่มันง่ายกว่าที่จะ พูดถึงสิ่งที่เราสนใจ การขี่ม้าน่ะเหรอ? แต่ถ้าเป็นเรื่องที่มาเรียยังไม่เคยรู้ เกี่ยวกับสิ่งที่จะพูด ในการนำเสนอที่โรงเรียน เธอต้องเรียนรู้เพิ่มเติม หรือหาข้อมูล ในกรณีนี้ มันเป็นการดีที่จะหาสิ่ง ใดๆที่เราสามารถทำได้ตามหัวข้อ - เราจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การพูดง่ายขึ้น ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ในหนังสือ หรืออาจเป็นคลิป ที่มีภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ แล้วมาเรียต้องการพูดถึงอะไร ในเรื่องนี้ล่ะ? เธอรู้อะไรเกี่ยวกับมันมาแล้วบ้าง? เธอต้องค้นคว้าอะไร? มาเรียได้เขียนแบบร่างสิ่งที่เธอรู้ เกี่ยวกับการขี่ม้าลงไป นี่คือแผนผังความคิด มันเป็นวิธีที่ดีที่จะตรวจสอบ ว่าเรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหัวข้อ โดยรวม เมื่อเธอตัดสินใจไปแล้วว่าจะพูดอะไร เธอจะจดสิ่งที่จะพูดไปตามลำดับ เธอทำโครงร่างอย่างคร่าวๆ แล้วค่อยเขียนสิ่งที่เธอจะพูด นั้นก็คือ -การเขียนสคริปต์ สคริปต์อาจแตกต่างกันไป ตามรายละเอียด บางคนเขียนทุกคำที่พวกเขาจะพูด ในขณะที่บางคนจะเขียนคำที่เป็นกุญแจ สำคัญบางคำ มาเรียเริ่มต้นจากการจดทุกๆอย่าง ที่เธออยากพูด จากนั้นก็เลือกเอาคำที่เป็นกุญแจสำคัญ ออกมาจากสคริปต์ เพื่อใช้ระหว่างการนำเสนอ แล้วสคริปต์จะมีลักษณะยังไงล่ะ? สิ่งแรกเราต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจ ในสิ่งที่เรากำลังจะพูด และสนใจมัน ดึงความสนใจพวกเขา ส่วนนี้เรียกว่าบทนำ เราอาจเล่าอะไรสั้นๆหรือความทรงจำ ที่เกี่ยวกับหัวข้อ มันควรจะสั้นประมาณ 2 ประโยค ก็พอแล้ว หลังจากบทนำจะเป็นการนำเสนอ ข้อมูลทั้งหมด ตามลำดับที่ได้ร่างเอาไว้แล้ว เจาะลึกลงไปในรายละเอียด ของเรื่องที่พูดให้มากขึ้น ส่วนนี้เรียกว่าเนื้อหาซึ่งเป็นส่วน ที่ใหญ่ที่สุดของการบรรยาย บางครั้งอาจใช้รูปภาพ แผนที่ หรือกราฟมาประกอบด้วยได้ เมื่อได้นำเสนอเนื้อหาทั้งหมดแล้ว ให้ลองกลับมาที่บทนำ เชื่อมโยงเข้าด้วยกันแล้วสรุป สิ่งที่เราได้พูดไป นี่คือ'บทสรุป' บทสรุปควรจะสั้นๆ อาจสัก 2-3 ประโยคก็พอ ผู้ฟังควรเข้าใจว่าการบรรยาย ได้จบลงแล้ว ตอนนี้สคริปต์ก็พร้อมใช้งาน ได้เวลาฝึกซ้อมแล้ว มาเรียกำลังอ่านข้อความให้ตัวเองฟัง และบันทึกมันด้วยโทรศัพท์ เพื่อกลับมาฟังซ้ำ มาเรียรู้สึกว่าเธอพูดเร็วเกินไป นั่นเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อเรามีความกังวล เธอตัดสินใจพูดให้ช้าลง ระหว่างการนำเสนอ มาเรียจ้องแต่กระดาษมากเกินไป นั่นทำให้ยากที่จะได้ยินเสียงเธอ แต่ถ้าเธอมองผู้ฟัง พวกเขาก็จะได้ยินเธอชัดขึ้น และรู้สึกว่าเธอกำลังพูดกับพวกเขาอยู่ การนำเสนอพร้อมแล้ว มาเรียรู้สึกมีความสุข เธอเข้าใจหัวข้อและเนื้อหาของเธอดี เพราะเธอเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี และยังมีเวลาฝึกซ้อมต่ออีก แต่ก่อนอื่น ขอไปขี่ม้าก่อนนะ