
ที่มาของการวิจารณ์

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
Source criticism is a way to view the world where you take responsibility for not spreading lies and false rumours.
ดูสิ เลดี้ดาด้ากำลัง แสดงอยู่ที่โรงเรียนของเรา ว้าว...ใครบอกเหรอ? ก็มันอยู่ในหน้าเฟสของลีออนพร้อม กับลิงค์เว็บไซต์ของโรงเรียนด้วย มันเชื่อได้หรือเปล่า? เมื่อเราท่องเน็ต, อ่านข่าว หรือได้ยินในสิ่งที่ไม่คาดคิด เราต้องถามตัวเองก่อนว่า มันเป็นเรื่องจริงไหม? แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร? เพื่อหาคำตอบ เราจะค้นหาว่า ข้อมูลนี้มาจากไหน นั่นคือแหล่งข้อมูล ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นตัวอย่าง แหล่งข้อมูลที่เราได้ในตอนนี้ แหล่งข้อมูลอาจเป็นข้อเขียนหรือ แหล่งข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือสิ่งที่มีคนมาบอกเรา คือแหล่งข้อมูลที่เป็นการบอกเล่า สิ่งสำคัญคือการประเมินว่า แหล่งข้อมูลนั้นเชื่อถือได้ไหม และพวกเขารู้เรื่องพวกนี้มากน้อยเพียงใด แล้วเราจะรู้ว่าเราจะกล้าเชื่อถือข้อมูล นั้นหรือไม่ นี่เรียกว่าการวิพากษ์แหล่งข้อมูล คำว่า"วิพากษ์" อาจฟังดูเหมือนว่า เรากำลังบ่นเรื่องอะไรสักอย่าง แต่ที่นี่"การวิพากษ์"หมายถึง การประเมินหรือพิจารณาตัดสิน เราจะประเมินข้อมูลเพื่อดูว่ามันจริงไหม การวิพากษ์แหล่งข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ในทางวิทยาศาสตร์และการศึกษา การวิพากษ์แหล่งข้อมูลยังสำคัญต่อ ชีวิตประจำวันมากด้วย เราจะได้ไม่ต้องเสี่ยงไปเผยแพร่ข้อมูลเท็จ หรือสิ่งที่ไม่เป็นความจริงเข้า ไม่ว่าจะเป็นข่าวเล็กหรือข่าวใหญ่ หรือข่าวลือที่เราได้ยินมา ในโลกออนไลน์หรือชีวิตจริง ก็ล้วนส่งผลกระทบที่ร้ายแรงได้ ข่าวลือที่เป็นเท็จอย่างหนึ่งคือวัคซีน จะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง สิ่งนี้ทำให้โรคภัยร้ายแรงหลายๆอย่าง ที่สูญหายไปกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีข่าวลืออันเป็นเท็จแพร่ออกไป มันอาจเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริงได้ เนื่องจาก'ทุกคน'ได้ยินข่าวลือนั้นแล้ว อาจเป็นข่าวลือเกี่ยวกับคน องค์กร หรือแม้แต่กลุ่มชาติพันธุ์ ที่ถูกเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง ในบางกรณี สิ่งนี้ได้นำไปสู่ การข่มเหงและสงคราม มันง่ายที่จะถูกดึงเข้าไปเกี่ยวข้องเมื่อ ได้ฟังสิ่งที่หงุดหงิด สนุก หรือตื่นเต้น เราจำเป็นต้องคิดก่อนที่จะส่งผ่าน สิ่งเหล่านั้นไปให้คนอื่น การวิพากษ์แหล่งข้อมูลไม่ได้เป็น เพียงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่มันเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคม ควรตระหนักเอาไว้ มันเป็นวิธีหนึ่งในการดูแลโลก ที่ซึ่งเราต้องรับผิดชอบ ไม่ส่งต่อ คำโกหกหรือข่าวลือที่ผิดๆ ออกไป สิ่งสำคัญคือการรู้ว่าแหล่งข้อมูล ใกล้ชิดกับต้นกำเนิดของข้อมูลเพียงใด แหล่งข้อมูลจากผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรง กล่าวได้ว่ามันเป็นแหล่งข้อมูล ปฐมภูมิ ในขณะที่แหล่งข้อมูลที่เล่าซ้ำ หรือไปซ้ำสิ่งที่คนอื่นพูด จะเรียกว่าแหล่งข้อมูลทุติยถูมิ หัวข้อข่าวมักเป็นแหล่งข้อมูลทุติยถูมิ ซึ่งจะเล่าซ้ำในสิ่งที่เกิดขึ้นของคนอื่น มันเป็นการดีกว่าในการหาแหล่งข้อมูล ปฐมภูมิ เพื่อที่จะรู้ได้ว่าข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือ แม้ว่าหนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่ๆ จะรายงานข่าวเดียวกัน พวกเขาอาจได้ข้อมูลทั้งหมด มาจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิเดียวกัน อย่างเช่นสำนักข่าว ข่าวนั้นจะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า ข่าวที่มาจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิหลายๆแห่ง ที่ต่างกัน ในกรณีของเลดี้ดาด้า ลีออนเป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เนื่องจากเขาเผยแพร่ข้อมูล จากบุคคลอื่น ก็คือเว็บไซต์ หากเราอยากรู้ว่ามันเป็นความจริงหรือไม่ การถามลีออนก็คงไม่พอ มาเรียและลีน่าจำเป็นต้องค้นหา จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ นี่เป็นโฮมเพจของโรงเรียนหรือไม่? มีการสะกดคำผิดเยอะแยะเลย แล้วถ้าเราคลิกที่นี่ล่ะ? ฮ่าฮ่า เจ้าโง่เอ้ย โอ้ เลดี้ดาด้าคงไม่มาแล้วล่ะ มันง่ายที่จะถูกดึงความสนใจ เมื่อได้อ่านอะไรสนุกๆ นี่คือเหตุผลว่าทำไมเรา จึงควรระวังเป็นพิเศษ เมื่อได้ยินในสิ่งที่เราเห็นด้วย เชื่อไปแล้ว หรืออยากให้มันเป็นจริง ความเสี่ยงจะยิ่งมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าเราใส่ใจน้อยต่อการวิพากษ์แหล่งข้อมูล แต่ฉันซื้อตั๋วไปแล้วนะ