
การหาข้อมูล

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
On established websites, the content is often reviewed by __________.
มาช่วยฉันค้นสูตรบิสกิต ของคุณยายหน่อยได้ไหม? ฉันหาไม่เจอน่ะ สูตรที่เป็นช็อคโกแลตเหรอ? เมื่อมีบางสิ่งที่เราไม่รู้ หรือต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม เราก็ต้องค้นหาข้อมูลเพิ่ม มันอาจเป็นสูตรบิสกิต หรือการบ้านวิชาวิทยาศาสตร์ หรือเรากำลังสงสัยเรื่องกลไก การทำงานของเครื่องยนต์ บางทีเราอาจรวบรวมข้อมูล เพื่อเป้าหมายพิเศษ อย่างการเขียนเรียงความ ดังนั้นมันจึงเป็นการดีที่เราจะวางแผนงาน เน้นไปที่ข้อมูลที่เราต้องการจริงๆ นั่นคือ "การจำกัดขอบเขตการค้นคว้า" เราสามารถทำได้โดยการตั้งคำถามที่ชัดเจน ที่เราอยากหาคำตอบ หรือ "คำถามวิจัย" ปกติแล้วมันจะทำให้ง่าย ต่อการหาข้อมูลที่ถูกต้อง เราสามารถหาข้อมูลจากหลายๆที่ นั่นคือ"แหล่งข้อมูล" ในอินเทอร์เน็ตนั้น เราสามารถหาข้อมูล จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันบางครั้ง มันก็ยากที่จะรู้ว่า แหล่งข้อมูลใดน่าเชื่อถือ ดังนั้นเราจึงควรไปที่เว็บไซต์ที่ เป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งเป็นของ องค์กรที่เป็นทางการ หน่วยราชการ และแหล่งอื่นๆที่เป็นที่ยอมรับ ข้อมูลส่วนใหญ่ที่นั่นจะถูกตรวจสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ [ ... ] ในสารานุกรม เรายังสามารถค้นหา ข้อเท็จจริงที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ และสามารถค้นหาหัวข้อของเรา ได้อย่างง่ายดาย โปรดจำไว้ว่าสารานุกรมที่พิมพ์ไว้ อาจเก่าและล้าสมัย ดังนั้นจึงควรถามก่อนว่า ข้อมูลที่เราค้นคว้าสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาหรือไม่ หรือข้อมูลบางอย่างจะเป็นจริงเสมอ? ... หนังสือสารคดีมีความเป็นพิเศษตรงหัวข้อ ที่แน่นอน บางทีเราก็อาจพบสักหัวข้อ ที่เราตามหาอยู่ก็ได้? ใช้สารบัญที่ด้านหน้า และดัชนีที่ท้ายเล่ม เพื่อดูว่ามันครอบคลุมหัวข้อของเราหรือไม่ และมันอยู่ตรงไหนในหนังสือเล่มนั้น สื่อสิ่งพิมพ์ก็เป็นอีกแหล่งข้อมูลที่ดี เราสามารถค้นหาเหตุการณ์ปัจจุบัน ได้จากหนังสือพิมพ์ และหัวข้อที่เราหา ก็อาจมีอยู่ ในนิตยสารก็ได้ การอ่านหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับ จะทำให้เราได้เห็นหลายๆมุมมองในหัวข้อ เดียวกัน [ ... ] และหากเราต้องการมุมมองของ คนอื่นๆโดยเฉพาะ เราก็สามารถสัมภาษณ์ผู้รู้ เกี่ยวกับประเด็นค้นคว้าของเรา แหล่งข้อมูลทั้งหมดอาจไม่ได้เขียน หรือเล่าเอาไว้ พยายามค้นหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ที่ไม่ได้คาดหวัง เช่น สถานที่ หรืออาจจะเป็นวัตถุ ห้องสมุดเป็นเครื่องมือที่ดี เมื่อเราต้องการค้นหาแหล่งข้อมูล สิ่งที่อยู่ในนั้นมีมากกว่าหนังสือ เราสามารถขอความช่วยเหลือ ในการค้นหาข้อมูล ค้นคว้าเอกสารสำคัญ ขอใช้คอมพิวเตอร์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ และนิตยสารได้ด้วย เมื่อรวบรวมข้อมูลได้เพียงพอแล้ว เราต้องเลือกข้อมูลที่ต้องการใช้ ตรงนี้เราสามารถใช้คำถามการวิจัย และใช้เฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำตอบ เท่านั้น ใช้แหล่งข้อมูลจากหลายแห่ง มันจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จากมุมมองที่มีแค่ด้านเดียวและอคติ ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของเรา หรือการประเมินแหล่งข้อมูล ถ้าไม่ลำบากนัก ก็ควรไปดูต้นตอ ของแหล่งข้อมูลด้วย ทั้งนี้ ยังต้องพิจารณาความเก่าของ แหล่งข้อมูลของเราด้วย จุดเดือดของน้ำไม่เคยเปลี่ยน แต่สถิติตั้งแต่ 10 ปีที่แล้วอาจดู แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ถ้าเทียบกับสถิติที่เพิ่งรวบรวมไปไม่กี่ปี ให้ค้นหาแหล่งข้อมูลล่าสุด หากสิ่งนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จงบันทึกไว้เสมอว่าข้อมูลนั้นมาจากไหน รวมถึงแหล่งข้อมูลปากเปล่า เช่น ในงานโรงเรียน มันเป็นสิ่งสำคัญเสมอในการบอกสถานที่ ที่เราได้ข้อมูลมา นั่นคือการอ้างอิงแหล่งข้อมูลของเรา คำถามที่ต่างกันอาจต้องการ แหล่งข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน หากกำลังสงสัยอยู่ว่า คืนนี้ทีวีจะฉายอะไร? ก็ดูได้ที่ตารางรายการทีวี แล้วห้องสมุดเปิดทำการตอนไหนล่ะ? ก็ดูได้ที่หน้าเว็บของห้องสมุด แล้ววันนี้มีการบ้านอะไรบ้าง? ก็ต้องไปถามครูหรือเพื่อนร่วมห้องดู แล้ววิธีทำบิสกิตล่ะ? รู้แล้ว รู้แล้ว ไปถามยายกันเถอะ เธอกำลังส่งสูตรมาให้ แล้วเราจะทำขนมกันได้หรือยัง?