
การน้อมรับข้อเสนอแนะ

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? เราควรแก้ไขงานเขียนของเราตามที่ผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับแนะนำทุกประการ
เมื่อลงมือทำงานเขียนไปแล้ว มันจะมีประโยชน์มาก ถ้าจะมีคนมาช่วยเรา คนที่ช่วยอ่านข้อความและให้ข้อเสนอแนะ ทั้งในแง่ของสิ่งที่เราเขียนได้ดี และสิ่งที่สามารถแก้ไขได้ คนที่ให้ข้อเสนอแนะกับเราในงานเขียน ผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ บางทีเราก็อาจเคยได้ฟังข้อเสนอแนะ มาบ้างใช่ไหมล่ะ และมันก็อาจทำให้รู้สึกโกรธ หรือเศร้าใช่หรือเปล่า นั่นไม่แปลกเลย เพราะมันไม่ง่ายนัก ที่จะรับการเสนอแนะ เราอาจรู้สึกว่างานเขียนของเรายังไม่ดี และอาจต้องโยนมันทิ้งไป แต่ไม่จำเป็นเลยที่ต้องไปโกรธหรือเศร้า จนต้องทิ้งงานที่เขียนไป ข้อเสนอแนะที่เราได้มาเรื่องงานเขียน ไม่ได้พูดถึงเราในฐานะของบุคคล และสิ่งที่เราเขียนนั้นก็ยังไม่เสร็จ ข้อเสนอแนะจึงเป็นวิธีที่จะช่วย ให้งานเขียนมีการพัฒนา ถ้าหากเราเรียนรู้ที่จะรับ และใช้ประโยชน์จากมัน แล้วงานเขียนของเราก็จะดีขึ้น และพัฒนาขึ้นในฐานะนักเขียนได้ ลองคิดดูว่าจะผ่านขั้นตอน ทั้ง 4 นี้ไปได้อย่างไร เมื่อเราได้รับข้อเสนอแนะมา เราจะตรวจสอบมันอย่างใจเย็น และอย่างเป็นระบบ ทีละขั้นตอน จากนั้นเราจะรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น ในการรับข้อเสนอแนะ และมันจะเป็นประโยชน์ขึ้นกว่าเดิม ขั้นตอนแรก เริ่มที่การใส่ใจกับความเห็นเชิงบวก และมีความสุขกับมัน เราได้เขียนสิ่งที่คนอื่น ชื่นชมและคิดว่ามันช่างคุ้มค่า มันเป็นการง่ายกว่าในการรับเอาข้อเสนอแนะ มาเพื่อพัฒนา เมื่อเรารู้ว่ามันมีข้อดีในงานเขียนของเรา ขั้นตอนที่ 2 ดูข้อคิดเห็นซึ่งพูดถึงสิ่งที่สามารถ แก้ไขให้ดีขึ้นได้ บางทีคนที่วิจารณ์ก็คิดว่ามันมี อะไรบางอย่างในงานเขียนนั้น ที่ยังเข้าใจยาก หรือว่า สามารถใช้ถ้อยคำอื่นได้ดีกว่า ตอนนี้ เราอาจจะโกรธหรือเสียใจ หรือรู้สึกว่าเราต้องการอธิบายกับตัวเอง หรือปกป้องงานที่เราเขียนขึ้น หายใจลึกๆ นะ และเตือนตัวเองว่ามีความคิดเห็น ที่คอยช่วยเราอยู่ จากนั้นก็หายใจเข้าลึกๆ อีกครั้ง หากมีอะไรที่ไม่เข้าใจ คุณสามารถถามผู้ช่วยเหลือได้ และให้พวกเขาอธิบายรายละเอียด เพิ่มเติมให้คุณ แต่ให้ถามแค่สิ่งเรา อยากรู้จริงๆ เท่านั้นนะ อย่าจุดประเด็นการโต้เถียง หรือปกป้องตัวเอง ขั้นตอนที่ 3 หยุดพักก่อน เมื่อเข้าใจความคิดเห็นที่ได้มาแล้ว และรวมโน้ตทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว มันเป็นความคิดที่ดีที่จะหยุดความคิด และอารมณ์ของตัวเองไว้สักพัก แล้วออกไปเดินเล่น ขั้นตอนที่ 4 ถึงเวลาตัดสินใจแล้วว่าคำแนะนำใด ที่เราต้องการใช้ประโยชน์จากมัน มีจุดใดในข้อเสนอแนะ ที่เราคิดว่าสามารถพัฒนาและ ปรับปรุงให้งานของเราดีขึ้นได้ คุณไม่จำเป็นต้องพูดถึงทุกสิ่ง ที่ผู้ช่วยเหลือติงเอาไว้ เลือกสิ่งที่เราเชื่อด้วยตัวเอง นั้นจะทำให้งานเขียนของเราพัฒนา แต่จำไว้ว่า บางครั้งความคิดเห็นที่ทำให้ เราหงุดหงิดใจที่สุด ก็สามารถเป็นความคิดเห็น ที่ช่วยให้เราพัฒนางานเขียน ให้ดีที่สุดได้เหมือนกัน หากคุณให้หลายคนแสดงความคิดเห็น คุณจะได้รับความคิดเห็นที่ แตกต่างซึ่งอาจขัดแย้งกัน นั่นเป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจ มันให้ข้อเสนอแนะที่ต่างกันนิดหน่อย แต่มันก็ยังเป็นข้อความของเรา และท้ายที่สุด เราจะเป็นคนตัดสินใจ ว่าอยากเห็นมันมีหน้าตาแบบไหน ไชโย! ตอนนี้เรารับการเสนอแนะอย่างสงบ และอย่างเป็นระบบได้แล้ว จำไว้ว่าต้องไปขอบคุณ ผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่เรา ผู้ซึ่งช่วยเหลือเราอย่างดีที่สุด เพื่อให้งานเขียนของเรามีการพัฒนา และตอนนี้เราก็เขียนมันต่อได้แล้วล่ะ