
การอธิบายในข้อความบรรยาย

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
In what kind of description do you show how your character move through the setting?
บางครั้งเราก็อยากทำให้ใครบางคน ร้องไห้ใช่หรือเปล่าล่ะ คือก็ไม่ได้หมายความว่า ต้องไปแกล้งเขานะ แค่เล่าเรื่องเศร้าให้พวกเขาฟังต่างหาก ในกรณีที่ต้องทำให้คนอ่านของเรา เข้าใจความรู้สึกของตัวละครในเรื่อง นั่นคือเรากำลังพูดถึงการบรรยาย การบรรยายฉากและตัวละคร ซึ่งการบรรยายที่ว่าก็มีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน ในการการบรรยายทั่วไป เราจะอธิบายด้วยคำพูดเพื่อให้เห็น ภาพที่ชัดเจน การบรรยายทั่วๆไปนี้เรียกอีกอย่างว่า refererande แต่ถ้าเราอยากให้คนอ่านได้อารมณ์จริงๆ เราก็ควรบรรยายฉาก โดยผ่านสายตาของตัวละคร ในขณะที่เขาหรือเธอได้ผ่านมันไป จะมีฉากบางอย่าง ที่ทำให้ตัวละครเคลื่อนผ่าน ไปในลักษณะพิเศษหรือเปล่า? ยังไงล่ะ! รวมถึงบรรยายประสบการณ์ที่ตัวละคร ได้รับจากฉากนั้นด้วย โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือการฟัง การมองเห็น การสัมผัส การลิ้มรส หรือการดมกลิ่น คำบรรยายประเภทนี้เรียกว่า "แสดงแต่อย่าบอก" หรือ gestaltande การบรรยายฉากทั่วไป ซึ่งอาจฟังดูแล้วเป็นแบบนี้: จัตุรัสอบอุ่นอันสบายนั้นเต็มไปด้วย ผู้คนที่อยู่ในห้วงรัก ท่ามกลางพื้นหินที่ปูด้วยดอกไม้ สีสันสดใสหลากสีที่ผลิบาน ลิซ่ารู้สึกถึงความโดดเดี่ยวและมืดมน แล้วลองเปรียบเทียบกับวิธีการ "แสดงแต่บอก"ดูนะ ลิซ่าสะดุดล้มลงและส้นเท้าของเธอ ก็เกือบจะหัก อยู่บนพื้นหินที่จตุรัสแห่งนี้ ทำไมเธอถึงยังสวมรองเท้าแสนสวย คู่นี้อยู่นะ มันมีดีอะไรนักหนา เหมือนไม่มีใครสังเกตเห็นเธอด้วยซ้ำ เธอเดินกะโผลกกะเผลกผ่าน บรรดาคู่รักที่เฝ้ากระซิบกัน โดยที่ดวงตาของคนทั้งคู่ ไม่ได้ละจากกันเลยแม้แต่น้อย เธอพยายามไม่มองว่ามือของพวกเขา เกี่ยวกระหวัดกันอย่างไร ดอกไม้ที่ร่วงโรยอยู่บนพื้นถนน คือกลิ่นของค่ำคืนของฤดูร้อน ค่ำคืนที่มีค่าของผู้ที่มีคนรักเคียงข้าง ในบทบรรยายแรกที่ใช้ไปนี้ มีการใช้คุณศัพท์ แต่ในบทที่ใช้วิธีการ "แสดงแต่อย่าบอก" คำเหล่านี้ใช้สำหรับบรรยายฉาก คำเหล่านี้ใช้แสดงสิ่งที่เกิดขึ้น นั่นคือ'คำกริยา' ลิซ่าเคลื่อนผ่านฉากไปด้วย วิธีเฉพาะหรือเปล่า? ใช่เลย เธอสะดุดและเดินขากระเผลก เธอได้รับประสบการณ์อะไร ผ่านประสาทสัมผัสของเธอ? ใช่ เธอได้กลิ่นดอกไม้ เธอเห็นสิ่งต่างๆ และได้ยินเสียง กระซิบจากคู่รัก ในบทบรรยายแรก ผู้เขียนบอกเรา ว่าลิซ่ารู้สึกโดดเดี่ยว แต่บทบรรยายที่สองคนอ่านจะ ต้องคิดได้เอง จากเบาะแสในบทบรรยาย คนอ่านจะเติมเรื่องราวด้วยภาพของตัวเอง และกลายเป็นผู้ร่วมสร้างเรื่องราวนั้น ในการบรรยายตัวละคร เราจะเผยว่าตัวละครของเราเป็นอย่างไร ด้วยลักษณะภายนอก แต่เราต้องอธิบายลักษณะภายในด้วย ตัวละครของเราเป็นอย่างไร ในฐานะที่เป็นคนๆ หนึ่ง มีความสุขหรือเศร้า ชอบเข้าสังคม หรือขี้อาย พวกเขาทำหน้าที่อย่างไร พวกเขามีความฝัน หรือว่ากลัวอะไรหรือเปล่า ในการบรรยายทั่วไป เราจะบอกทุกอย่างนี้ โดยใช้คำคุณศัพท์ แต่การบรรยายแบบแสดงแต่อย่าบอก เราจะแสดงให้เห็น ตัวอย่างสั้นๆของการบรรยายแบบทั่วไป ลิซ่ารู้สึกโกรธ และในแบบแสดงแต่อย่าบอก เราอาจถามตัวเอง: ว่ามันแสดงออกอย่างไร? เมื่อใครบางคนโกรธ พวกเขาอาจกำหมัด เตะข้าวของ หรือกรีดร้อง เราอาจใส่สิ่งที่ดูพิเศษเข้าไป โดยขึ้นอยู่กับบุคลิกของตัวละคร อาจเป็นแบบนี้: ลิซ่ากำมือแน่นอยู่ในกระเป๋าของเธอ เธออยากชกใครสักคนเต็มแก่ แต่หมัดของเธอ เหมือนจะติดอยู่ในกระเป๋ากางเกงยีนส์นั้น ไม่ต่างจากคำสบถที่ติดอยู่ ในลำคอของเธอเลย คำสบถที่มีรสชาติไม่ต่างกับเหล็ก หรือเธอแค่อาจจะกัดลิ้นตัวเอง ทันทีที่มูฮัมหมัดมองออกไป ลิซ่าก็เตะไฟถนนที่ใกล้ที่สุด มันเจ็บ แต่เธอไม่สนอีกแล้ว และมูฮัมหมัดก็ไม่ได้สังเกตด้วย ตอนนี้คนอ่านคงมองออกแล้ว ว่าลิซ่ากำลังโกรธ แต่เธอไม่ชอบที่จะทำแบบนี้ เพราะมูฮัมเหม็ดหรือเปล่าที่ทำให้ที่ลิซ่า ไม่อยากเปิดเผยความโกรธที่มีออกมา นั่นก็ขึ้นอยู่กับคนอ่านว่าจะตีความแบบไหน ไม่มีอะไรผิดในการบรรยายทั่วไป นักเขียนชื่อดังหลายก็คนเขียนอะไรแบบนี้ แต่วิธี"แสดงแต่อย่าบอก"กระตุ้นความรู้สึก ได้มากกว่า ดังนั้น พยายามหลีกเลี่ยงคำคุณศัพท์ แล้วใช้คำกริยาแทน นี่แหล่ะ "การแสดงแต่อย่าบอก"