
เรื่องสั้น : การเปิดเรื่อง ตัวละครหลัก เรื่องราว และฉาก

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? เรื่องสั้นเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
คว้าปากกาหรือเปิดคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ใกล้มือที่สุดสิ ได้เวลาเขียนเรื่องสั้นแล้ว ความสั้นก็สร้างเรื่องได้ หรือเรียก ว่านิยายก็ได้แหละ เรื่องสั้นมีตัวละครน้อย และมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่จำกัด อย่างแรก ให้คิดเรื่องออกมาในมุมกว้าง ใช้เหตุการณ์จริงเป็นแรงบันดาลใจ ในแบบที่เราต้องการ หรือเขียนไปตามธีม เช่น ธีมความรัก การทรยศ หรือมิตรภาพ ตัวอย่างหนึ่งของเรื่องสั้นก็คือ นีน่าวัย 16 ปีได้เจอกับอดัม และก็ตกหลุมรักเขาในทันที ต่อมาเธอพบว่าเขาหูหนวก และเธอจะสามารถบอกรักเขาได้ คือต้องไปเรียนภาษามือ และในชั้นเรียนภาษามือ เธอก็พบกับโทมัส ผู้ที่เธอรำคาญเป็นอย่างยิ่ง ท้ายที่สุดเมื่อนีน่าได้บอกความรู้สึก ของเธอที่มีต่ออดัม มันก็ชัดเจนว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ และคงรู้สึกแบบเดียวกับเธอไม่ได้ นีน่ากลายเป็นคนที่สิ้นหวัง มีแต่โทมัสที่คอยปลอบใจเธอ สิ่งสำคัญในเรื่องก็คือ การเล่าปัญหาบางอย่าง ที่เป็นปมขัดแย้ง ความขัดแย้งในเรื่องนี้คือ การที่อดัมหูหนวก ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่สร้าง ความตึงเครียดในเรื่อง เรื่องราวของเราเกี่ยวข้องกับนีน่า ซึ่งเป็นตัวละครหลัก และเพื่อให้ตัวละครหลักหรือตัวละครอื่นๆ ซึ่งเป็น "ตัวละครแวดล้อม" มีชีวิตขึ้นมา เราต้องกำหนดพฤติกรรมของพวกเขา ทั้งลักษณะและความรู้สึก จากนั้นจึงกำหนดว่าเรื่องราว จะเกิดขึ้นที่ใดซึ่งก็คือฉาก ในกรณีของเรื่องสั้น เราควรใช้ฉากให้น้อยที่สุด อาจมีเพียงฉากเดียวเท่านั้น บรรยายฉากอย่างที่เราสัมผัส กับมันได้ด้วยสายตา ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสชาติ และสัมผัสด้วยตัวเอง นั่นจะทำให้ฉากนั้นมีชีวิตขึ้นมา ในความรู้สึกของคนอ่าน แต่อย่าใช้ทุกอย่างหมดในครั้งเดียวนะ มันจะทำให้เรื่องของเราน่าเบื่อ แต่ใครจะเป็นผู้บรรยายในเรื่องสั้นล่ะ มีใครสักคนอยู่ในเรื่องไหม?หรือจะเป็นฉัน? นี่เรียกว่ามุมมองจากบุคคลที่ 1 หรือมันเป็นเสียงของนักเขียน ที่ไม่ระบุชื่อ ซึ่งบรรยายทุกอย่างจากภายนอกใช่ไหม? มันคือมุมมองจากบุคคลที่ 3 เหรอ? ยังมีมุมมองการบรรยายเรื่องแบบอื่นๆอีก แต่ 2 แบบที่พูดไป มีการใช้กันมากที่สุด มาฟังความแตกต่างนะ นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันเห็นอดัม แต่รู้สึกเหมือนว่าฉันเคยรู้จักเขามาแล้ว ฉันรู้สึกไม่สบายตัวพิกล และ เมื่อนีน่าเจอกับอดัมเป็นครั้งแรก ดูราวกับว่าเธอกินขนมหวานมากจนเกินไป และเธอไม่รู้ว่าตัวเองมีความสุข หรืออยากจะอ้วกกันแน่ ได้เวลาลงมือเขียนแล้ว เราจะเริ่มด้วยบทนำ สิ่งที่ต้องทำคือดึงความสนใจ ของผู้อ่านโดยเร็วที่สุด โยนผู้อ่านเข้าไปในเรื่องที่เราเขียน และอาจต้องโยนตัวละครหลัก เข้าไปด้วยเช่นกัน ในบทนำ ให้แนะนำตัวละครหลัก เรื่อง ฉาก และช่วงเวลา ที่เรื่องของเราเกิดขึ้น แต่อย่าพยายามเรียงลำดับอะไร ให้ผสมมันจนเป็นเรื่องราว ซึ่งอาจเป็นเช่นนี้ ในวันนั้นที่โรงเรียน เมื่อนีน่าเห็น ผู้ชายคนใหม่ที่ชื่ออดัม ไม่มีอะไรเป็นไปตามที่คิดไว้เลย ไม่ใช่แค่ที่เธอหลับในห้อง และถูกครูตะโกนใส่หน้าเท่านั้น อย่างไรก็ตามเธอก็สามารถทรงตัว บนเท้าของตัวเอง ณ โรงอาหารนี้ วินาทีที่เธอกำลังถือถาดลาซานญ่าหนักๆ อยู่นั้น ทั้งนมและอาหารก็ลอยหวือขึ้นไปบนอากาศ และนีน่าก็มีพาสต้าอยู่บนหัวยุ่งๆ ของเธอ เสียงแก้วแตกดังเพล้ง มื่อมันถูก กระแทกกับพื้นหินแข็งๆ นั่นทำให้เด็กมัธยมทุกคนหันหลังกลับมา และจ้องมาที่เธอ แต่นีน่ามองไม่เห็นใบหน้าของพวกเขาสักนิด นอกจากเห็นภาพพวกเขาเหมือนสีพาสเทล เบลอๆในฤดูร้อนอยู่รอบๆ คนที่นีน่าเห็นมีแค่คนเดียว อดัม เด็กหนุ่มที่งดงามที่สุด ที่เคยเดินอยู่บนโลกนี้ หรืออย่างน้อยก็เดินบนพื้นหิน ของโรงเรียนในโซลน่า จะเกิดอะไรขึ้นกับนีน่าอีก เรารับรู้ทุกอย่างที่อยากรู้ ในการเปิดเรื่องแล้วหรือยัง และเมื่อไหร่ปมขัดแย้งจะมาถึงล่ะ นั่นคือสิ่งที่เราจะพบในตอนที่สอง ของวิดีโอเรื่องนี้