
ยุคเรืองปัญญา : นักเขียนของโลก

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
วีรบุรุษในหนังสือของโจนาธาน สวิฟท์ ที่เดินทางไปยังอาณาจักรของชาวลิลลิพุต(Lilliputian) และอาณาจักรอื่นๆ มีชื่อว่าอะไร?
ในยุคเรืองปัญญาเป็นยุค ที่โลกถูกมองว่าเป็นเครื่องจักร และใครๆ ก็เห็นว่ามีความผิดปกติ กับเครื่องจักรนี้ คงถึงเวลาต้องซ่อมมันแล้วล่ะ ศาสนจักรและกษัตริย์มีอำนาจ และใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ในขณะที่ชาวบ้านไร้ซึ่งอำนาจ และเงินทอง ในช่วงยุคเรืองปัญญา ผู้คนต่างคิดว่าวิทยาศาสตร์จะแก้ปัญหา ให้ความอยุติธรรมเหล่านี้หมดไปได้ แนวคิดบางอย่างกลายมาเป็นสิ่งสำคัญ "ความรู้ถูกสร้างขึ้นจากการทดลอง ทางวิทยาศาสตร์" "สังคมสามารถปรับเปลี่ยนได้" "มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาด" แนวคิดเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกัน ตอนนี้ทุกคนต่างเชื่อว่า มนุษย์จะหาทางออก เพื่อทำให้สังคมที่ดีขึ้นโดยใช้เหตุผล เหมือนกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ ขณะนั้นมีการสำรวจโลกเกิดขึ้นมากมาย 'แม้แต่ในวรรณคดี' เช่นในหนังสือของโจนาธาน สวิฟท์ ที่ชื่อ"การเดินทางของกัลลิเวอร์" ที่เล่าถึงการเดินทางไปยังเอเชียของ กัลลิเวอร์ที่เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง เขาต้องลอยแพไปยังเกาะทั้ง 4 บนเกาะแรกนั้น เขาได้พบกับ พวกมนุษย์จิ๋ว ซึ่งเป็นกลุ่มมนุษย์ตัวเล็กจำนวนมาก และชอบทำสงครามด้วยเรื่องบ้าบอ บนเกาะที่ 2 คือ "Brobdingnag" ถึงเวลาที่กัลลิเวอร์จะรู้สึกว่า ตัวเองตัวเล็กแล้ว เพราะนี่คือเกาะของพวกยักษ์ เกาะที่ 3 คือลาพูตา ซึ่งเป็นเกาะที่บินได้ ที่นี่มีนักวิทยาศาสตร์ที่ฉลาดเพียงพอ ที่จะประดิษฐ์อะไรก็ได้ แต่พวกเขาไม่ได้ใช้สติปัญญา ไปกับสิ่งที่สมเหตุสมผล บนเกาะที่ 4 นั้นมีพวกฮวินเนมอยู่ พวกมันดูเหมือนม้า แต่ฉลาด และมีคุณธรรม นอกจากนี้ยังมีเผ่าพันธุ์ที่สกปรก โหดร้ายและมีกลิ่นแรง คือพวกยาฮูส์ และพวกมันดูเหมือนมนุษย์ กัลลิเวอร์รู้สึกละอายที่ตัวเอง นั้นเหมือนกับพวกยาฮูส์ ในที่สุดเมื่อเขากลับถึงบ้าน เขาไม่สามารถทนเห็นสายตาจากครอบครัว ของเขา เพราะพวกเขาทำให้เขานึกถึง พวกยาฮูส์ที่น่ารังเกียจ การเดินทางของกัลลิเวอร์ เป็นการวิจารณ์คริสตจักร สังคม และการตั้งอาณานิคม ในดินแดนอื่นของอังกฤษ นักเขียนในยุคเรืองปัญญา มักจะแกล้งวิจารณ์ด้วยวิธีแบบนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษจากผู้มีอำนาจ กัลลิเวอร์ไม่ใช่เพียงคนเดียว ที่ถูกซัดไปบนเกาะ ในหนังสือของแดเนียล เดโฟ ชื่อ"โรบินสัน ครูโซ" เล่าว่า โรบินสันลอยแพไปถึงเกาะร้าง เพื่อเอาตัวรอด เขาต้องใช้เหตุผล เขาศึกษาธรรมชาติและทำการทดลอง ด้วยวิธีนี้เขาจึงแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ว่าแต่นี่คือใครน่ะ? โอ้ นี่คือ"ฌอง ฌาค รุสโซ" นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ในหนังสือของเขาที่ชื่อ Emile เป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก รูสโซระบุว่ามันมีเหตุผลกว่า ที่จะเรียนรู้จากธรรมชาติมากกว่า จากหนังสือ เขาเชื่อว่าเรื่องของโรบินสัน ครูโซ เป็นหนังสือเล่มเดียวที่เด็กต้องอ่าน แต่วางโรบินสันลงได้แล้วรุสโซ โอ้ เราอยู่ในหนังสือเล่มต่อไปแล้วนี่นา นี่คือ "ก็องดิด" หรือ "ดิ ออพทิมิส" ถูกเขียนขึ้นโดยวอลแตร์ นี่คือ ก็องดิด และอาจารย์สอนปรัชญา ผู้มองโลกในแง่ดีของเขา หมอแพงกลอส พวกเขาเผชิญกับความทุกข์ยากมากมาย แต่หมอแพงกลอสกลับเชื่อเสมอว่า เราอาศัยอยู่ในโลกที่ดีที่สุด เอลโดราโด้นั้นเป็น 1 ในสถานที่ที่ ก็องดิดและแพงกลอสไปเยือน เมืองที่มีถนนทองคำ มีศาสนา แต่ไม่มีนักบวช ที่จะมาตัดสินใจแทนผู้คน ทุกสิ่งจึงเป็นไปด้วยดี คำวิจารณ์ศาสนาของวอลแตร์ มีความชัดเจนในหนังสือของเขา เขาและนักคิดในยุคเรืองปัญญาคนอื่นๆ ที่เชื่อว่าพระเจ้าองค์เดียวทรงสร้างโลก แล้วกลับไปและไม่ยุ่งเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ สิ่งนี้เรียกว่า เทวัสนิยม ในท้ายที่สุด ก็องดิดก็คิดได้ว่า หมอแพงพลอสคิดผิด พวกเขาไม่ได้อยู่ในโลกที่ดีที่สุด เขาสรุปว่าเราต้องทำชีวิตตัวเองให้ดี จากสิ่งที่เรามีอยู่ และเขาแสดงให้เห็น ชัดด้วยการเปรียบเทียบว่า: เราต้องปลูกพืชในสวนของเราเอง บางครั้งวอลแตร์ก็วิจารณ์ สถาบันกษัตริย์ เขายังเชื่อว่าผู้คนโง่เกินกว่า ที่จะนำเอาประชาธิปไตยมาใช้ และสิ่งที่ดีที่สุดคือการมีกษัตริย์ ที่ชาญฉลาดมาเป็นผู้ปกครอง แต่ตรงนี้แนวคิดของวอลแตร์แตกต่าง จากของคนอื่นๆ แนวคิดของยุคเรืองปัญญา ได้นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในท้ายที่สุด