
ปรัชญาสัจนิยมและธรรมชาตินิยม

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
Who wrote "Oliver Twist"?
จำยุคโรแมนติกได้ไหม? ยุคที่อุทิศให้กับธรรมชาติ ดินแดน อันห่างไกล และความรู้สึกอันแข็งแกร่ง ตอนนี้ คนส่วนใหญ่เบื่อสิ่งนี้แล้ว เพราะโลกกำลังเปลี่ยนแปลง ผู้คนจำนวนมากย้ายจากชนบท ไปยังเมืองต่างๆ เพื่อทำงานในโรงงาน ยุคนี้จึงเป็นยุคอุตสาหกรรม เป็นยุคที่ทั้งสกปรกและยากจน สำหรับคนส่วนใหญ่ คนส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถทำเงิน ก้อนโตได้ และมีความอยุติธรรมสูง นักเขียนในยุคนั้นได้เขียนเรื่อง เกี่ยวกับแรงงานทางกายภาพ และความยากจนที่พวกเขาเผชิญอยู่ และเขียนเกี่ยวกับสงครามด้วย นักเขียนเหล่านี้ต้องการที่จะ พรรณนาโลกไปตาม "ความเป็นจริง" พวกเขาคือนักสัจนิยม ยุคสัจนิยมกินเวลาประมาณปี 1830 ถึงปลายศตวรรษที่ 19 หนึ่งในนักเขียนสัจนิยมที่ดังที่สุด ก็คือ"ชาลส์ ดิกคินส์" เขาอธิบายถึงความอยุติธรรม ในอังกฤษในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ ในวรรณกรรมที่ชื่อ"โอลิเวอร์ ทวิสต์" โอลิเวอร์เป็นเด็กกำพร้า ที่หนีไปยังลอนดอน เขาอาศัยตามท้องถนน และได้พบกับฟากิ้น ผู้สอนเด็กเร่ร่อนให้ไปเป็นโจรล้วงกระเป๋า เรื่องราวจบลงอย่างมีความสุข เมื่อโอลิเวอร์ถูกรับมาเลี้ยงดู และเขาก็มีบ้านอยู่ แต่ทำไมตอนจบถึงมีความสุขล่ะ? ดิกคินส์ไม่ได้อยากจะวิจารณ์ ความอยุติธรรมในยุคนั้นเหรอ? ดิกคินส์ก็หมือนกับคนอื่นๆ ในตอนนั้น คือเผยแพร่เรื่องราวที่เขียนลง ในหนังสือพิมพ์ สัปดาห์ละบท : "นวนิยายต่อเนื่อง" ซึ่งมีกฎกำหนดไว้สำหรับนิยาย ที่เขียนเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ทุกบทควร จบลงอย่างน่าตื่นเต้น เพื่อทำให้คนอ่านอยากอ่านตอนต่อๆไป เหมือนกับละครในยุคนี้นี่แหล่ะ ทุกเรื่องต้องจบอย่างมีความสุข "โอลิเวอร์ ทวิสต์" ก็เหมือนกัน กฎอีกข้อก็คือ เรื่องที่เขียน ต้องไม่เป็นเรื่องการเมือง แต่ดิกคินส์ไม่ได้ใส่ใจกับกฎนั้น การวิจารณ์สังคมของเขา คือเรื่องการเมืองดีๆนี่เอง งานเขียนของเขาทำลายสถิติ ตัวเลขของผู้อ่านทุกคน อาจต้องขอบคุณสิ่งนี้ แต่ก็ต้องขอบคุณตัวละคร ที่น่าจดจำของเขาด้วย นี่คือนักเขียนชาวรัสเซีย "ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี" ดอสโตเยฟสกีไม่พอใจกับการอธิบาย ความเป็นจริงภายนอก เขาต้องการอธิบายโลกภายในของมนุษย์ ว่าอะไรทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมอย่างนั้น "จิตวิทยา"นั่นเอง เขาแสดงให้เห็นในหนังสือเรื่อง "อาชญากรรมและการลงโทษ" ตัวละครหลักในหนังสือ คือ Rodion Raskolnikov ซึ่งยังเป็นเด็กและเชื่อว่าตัวเองคือ สิ่งดีๆ ที่โลกมี เขาฆ่าผู้หญิงหน้าเลือดซึ่งปล่อยเงินกู้ "นายหน้าเงินกู้" เขาก่ออาชญากรรมส่วนหนึ่งเพราะต้องการเงิน และส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขามั่นใจว่า เขามีสิทธิ์ที่จะทำแบบนั้น เธอแก่ แถมยังชั่วร้าย และโลกจะดีกว่าแน่ถ้าไม่มีเธอ แต่น้องสาวของนายหน้าเงินกู้ กลับเห็นการฆาตกรรม โดยที่ไม่ได้วางแผนมาก่อน Raskolnikov จึงฆาตกรรมเธอด้วย และนี่จึงทำให้เขาเจ็บปวด เขาถูกทรมานด้วยความรู้สึก ผิดชอบชั่วดีของตัวเอง และมันจะเป็นเช่นนั้น จนกว่าเขาจะสารภาพผิด และการรับโทษของเขาก็คือ การเป็นอิสระจากความเจ็บปวดภายในใจ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีบางสิ่งเกิดขึ้นกับลัทธิสัจนิยม นักเขียนมีความละเอียดถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ในการอธิบายรายละเอียดในหนังสือ พวกเขายังอธิบายโลก ไม่เพียงแต่บอกว่ามันเป็นยังไงเท่านั้น แต่ยังทำให้รู้สึกได้ถึงกลิ่น และรสด้วย วลีใหม่ของสัจนิยมจึงเรียกว่า "ธรรมชาตินิยม" และชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Émile Zola จัดเป็นปรมาจารย์ในเรื่องนี้ เขารู้ว่าจะบรรยายสภาพศพ ในโรงเก็บศพอย่างไร เพื่อให้ผู้อ่านสามารถรู้สึกถึง กลิ่นเหม็นเน่าและเนื้อที่ตายแล้ว เขาเล่ามันไว้ในนิยายของตัวเองที่ชื่อ "Thérèse Raquin" ในหนังสือเล่มนี้ Thérèse ถูกบังคับให้แต่งงาน กับคามิลล์ ลูกพี่ลูกน้องผู้นิสัยเสีย ของเธอ แม้ว่าเธอจะรังเกียจเขาก็ตาม Thérèse ได้พบกับศิลปินนามว่า Laurent และพวกเขาก็เริ่มคบกัน พวกเขาจับคามิลล์กดน้ำจนตาย แต่การฆาตกรรมได้เปลี่ยนความสัมพันธ์ ของ Thérèse และ Laurent ไป พวกเขาไม่เคยทำอะไรแบบนี้ และเริ่มทรมานกันเองในหลายๆวิธี จนในที่สุดพวกเขาก็ฆ่าตัวตายไปพร้อมกัน ดังนั้นความแตกต่างระหว่างสัจนิยม และธรรมชาตินิยมก็คือ ขณะที่สัจนิยมอธิบายความจริงตามที่ได้เห็น แต่ธรรมชาตินิยมจะไปไกลกว่านั้น นักธรรมชาติวิทยาไม่เพียง ปราถนาต่อการดูและฟัง แต่ยังปราถนาต่อความรู้สึกลิ้มรส และดมกลิ่นของโลกด้วย