
แท่นพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
กูเต็นเบิร์ก ( Gutenberg) ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์เมื่อศตวรรษใด?
อาจมีใครเคยได้ยินว่า: โยฮันเนส กูเทนเบิร์ก ได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ขึ้น เมื่อกลางศตวรรษที่ 15 นั่นไม่ใช่ความจริงเสียทีเดียวหรอก เราอาจประทับใจเอาง่ายๆ ถ้าได้อ่าน เรื่องของกูเทนเบิร์กน่ะ แต่เขาไม่ได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์นะ สิ่งที่เขาทำคือการรวบรวม การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ต่างๆที่ทำมาแล้ว มาสร้างเป็นแท่นพิมพ์ตามแบบของเขาเอง แต่ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ประดิษฐ์ แท่นพิมพ์เครื่องแรก แต่งานของเขาก็มีความสำคัญ ต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีกระจายแนวคิด และวรรณกรรมไปตลอดกาล กล่าวได้ว่ากูเทนเบิร์ก ได้คิดค้นเทคโนโลยีการพิมพ์ ที่ยุโรปพร้อมใช้งานแล้ว ในช่วงยุคกลางในยุโรป หนังสือต่างๆถูกเขียนขึ้นและคัดลอกด้วยมือ ปกติมักเป็นนักบวชที่ทำการคัดสำเนา การทำสำเนาซ้ำๆด้วยมือ อาจกินเวลาไปหลายปี ลองคิดดูนะว่าหนังสือในสมัยนั้น จะหายากและแพงแค่ไหน พูดได้ว่าราคาของหนังสือแต่ละเล่ม ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ พอๆกับราคาไร่องุ่นแปลงหนึ่งเลยนะ ในประเทศจีน พวกเขาพิมพ์หนังสือมาเกือบพันปีแล้ว ช่วงต้นศตวรรษที่ 15 ในช่วง 50 ปีก่อนมีแท่นพิมพ์ของ กูเทนเบิร์ก มีหนังสือราว 4,000 เล่ม อยู่ในห้องสมุดของจักรพรรดิจีน ในขณะที่กษัตริย์ผู้มั่งคั่งแห่งโปรตุเกส ในยุโรป มีหนังสืออยู่ 6 เล่ม เทคนิคทั่วๆไปที่ทำกันอยู่ในเมืองจีน ก็คือพวกเขาแกะสลักหน้าหนังสือ ทุกเล่มจากบล็อกไม้ ซึ่งใช้เวลานาน และบล๊อกไม้นั้นก็ไม่อาจนำกลับมาใช้ได้อีก แต่เครื่องพิมพ์ของจีนนั้นพิมพ์ได้เร็ว และดี และมีแรงงานราคาถูกจำนวนมาก เทคนิคการพิมพ์นี้เรียกว่า การพิมพ์บล็อกไม้ การพิมพ์บล็อกไม้แพร่ไปถึงยุโรป ตอนต้นศตวรรษที่ 15 แต่มันไม่ได้เป็นเหมือนอย่างที่เป็นในจีน ในเมืองจีนพวกเขาใช้เทคนิคการพิมพ์ ด้วยตัวอักษรเดี่ยวที่เคลื่อนย้ายได้ "ตัวพิมพ์" ตัวพิมพ์เหล่านี้เอามารวมกัน เพื่อจัดหน้าทั้งหน้าได้ แรกเริ่มนั้นตัวพิมพ์จะทำด้วยไม้ ต่อมาเป็นเซรามิกส์ แล้วจึงกลายเป็นโลหะ แต่ภาษาจีนมีตัวอักษรมากมาย - หลายพันตัว- เทคนิคนี้จึงไม่เหมาะสม ในทางปฏิบัติ แต่ในยุโรปใช้อักษรละติน ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่ามาก เพียงแค่ 26 ตัว ดังนั้น เทคนิค "ตัวพิมพ์แบบเคลื่อนที่" จึงเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ กูเทนเบิร์กตระหนักถึงสิ่งนี้ เขาเคยเป็นช่างทองมาก่อน ดังนั้นเขาจึงคุ้นเคยกับโลหะเป็นอย่างดี กูเทนเบิร์กได้สร้างตัวพิมพ์แบบเคลื่อนที่ จากตะกั่วและดีบุกผสม พวกมันสามารถนำมาเรียงกัน เพื่อพิมพ์หนังสืออะไรก็ได้ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ถ้าตัวพิมพ์ตัวใดชำรุด ก็ง่าย ที่จะหล่อตัวใหม่มาแทน เมื่อต้องสร้างแท่นพิมพ์แบบกด กูเทนเบิร์กได้รับแรงบันดาลใจจากการกด ที่ใช้ในการกดไวน์หรือน้ำมัน นอกจากนี้เขายังทดลองผสมหมึกแบบต่างๆ เพื่อหาหมึกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ งานพิมพ์ของเขา หนังสือที่มีชื่อเสียงมากเล่มหนึ่ง ที่พิมพ์โดยกูเทนเบิร์ก คือคัมภีร์ไบเบิล ฉบับ "ไบเบิ้ลของกูเทนแบร์ก" แท่นพิมพ์ของกูเทนเบิร์กทำให้ หนังสือมีราคาถูกลงและหาง่าย และเมื่อมีหนังสือมากขึ้น แนวคิดต่างๆในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ จึงแพร่ไปได้ไวกว่าในยุคกลาง รวมทั้งการวิจารณ์คริสตจักรคาทอลิกด้วย แต่เรื่องของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ จะได้เรียนในวิดีโออื่น