
ภาษาชนกลุ่มน้อยแห่งชาติของชนชาติสวีเดน : ความรู้เบื้องต้น

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
What people have lived the longest in Sweden?
แน่นอนว่าคนที่อยู่ในสวีเดน ก็ต้องพูดภาษาสวีเดน ซึ่งเป็นภาษาหลักของประเทศ ที่พูดโดยคนส่วนใหญ่ที่นี่ แต่ก็มีคนกลุ่มเล็กๆหลายกลุ่ม ที่พูดภาษาอื่นซึ่งไม่ใช่ภาษาสวีเดน ชนกลุ่มน้อย ในสวีเดนมีภาษาอื่นที่ใช้พูด อย่างน้อย 150 ภาษา ภาษาชนกลุ่มน้อย ภาษาของชนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม อยู่ในกลุ่มพิเศษ หลายๆภาษาใช้พูดในสวีเดน มานานกว่าร้อยปีแล้ว ลองนึกภาพร้อยกว่าปี ย้อนหลังกลับไปตอนที่ยายทวด หรือตาทวดของเรายังเป็นเด็ก ก็ราวสามชั่วอายุคนนั่นแหละ เราจึงนับภาษาเหล่านี้ว่าเป็น ภาษาสวีเดนเล็กๆ นั่นคือเหตุผลที่รัฐสภาแห่งสวีเดน ได้ตัดสินใจ ว่าภาษาเหล่านี้จะต้องได้รับการคุ้มครอง และรับความช่วยเหลือพิเศษ เพื่อให้มีอยู่ในสวีเดนต่อไปได้ ภาษาเหล่านี้เรียกว่า "ภาษาชนกลุ่มน้อยแห่งชาติสวีเดน" ดังนั้นคนที่พูดภาษาเหล่านี้ จะได้รับการสนับสนุนต่างๆ เช่น เรียนวิชาต่างๆในโรงเรียนเป็น ภาษานั้น หรือได้รับบริการทางการแพทย์ และการดูแลที่บ้านโดยใช้ภาษาเหล่านี้ ประเภทของการสนับสนุนที่ได้ จะต่างกันไปในแต่ละภาษา การจะถือว่าภาษานั้นๆ เป็นภาษา ชนกลุ่มน้อยแห่งชาติได้นั้นจะต้อง ใช้พูดมาอย่างน้อย 3 ชั่วอายุคน เป็นภาษาด้วยตัวมันเอง ซึ่งไม่ใช่ภาษาถิ่นของสวีเดน ในสวีเดนมี 5 ภาษาที่เหมาะสม ตามเกณฑ์คือ ภาษาฟินน์, เมียแองเคียลี, ซามิ, โรมานีชิบ และ ยิดดิช บางภาษาเราอาจเคยได้ยินชื่อมาบ้าง แต่อาจจะไม่ใช้ทั้งหมด ดังนั้นตอนนี้เราจะมาทำความรู้จัก เพิ่มเติมกัน ชาวฟินน์ที่อาศัยอยู่ในสวีเดน แต่พูดภาษาฟินน์เป็นภาษาแม่ ซึ่งเรียกว่าชาวฟินน์สวีเดน ฟินแลนด์ตกเป็นของสวีเดนในช่วง ศตวรรษที่ 12 จนถึงปี 1809 ในช่วงศตวรรษที่ 16 ชาวฟินน์กลุ่มใหญ่ ได้ย้ายจากฟินแลนด์มาอยู่ในพื้นที่ ของสวีเดน และในศตวรรษที่ 20 ชาวฟินน์จำนวนมาก ก็ได้ย้ายเข้ามาในสวีเดนอีก แล้วภาษาเมียแองเคียลีล่ะ? เหมือนภาษาฟินแลนด์ไหม? ก็ค่อนข้างจะเหมือนนะ แรกเริ่มเดิมที ภาษาเมียแองเคียลี เคยเป็นที่รู้จักในชื่อ ภาษาฟินน์แห่งหุบเขาโทร์นเน่ เมื่อสวีเดนและฟินแลนด์ แยกกันในปี 1809 ชายแดนถูกขีดเส้นขึ้นที่นี่ ถัดจากแม่น้ำโทร์นเน่ ส่วนที่เหลือของฟินแลนด์ ได้กลายเป็นรัสเซีย และชาวฟินน์ที่อาศัยอยู่ในเขตหุบเขา โทร์นเน่ ก็กลายเป็นชาวสวีเดน ดังนั้นภาษาเมียแองเคียลีจึงเป็นภาษาถิ่น ของภาษาฟินน์ ที่ยังอยู่รอดมาได้ตั้งแต่ ชายแดนถูกขีดเส้นขึ้น แต่ภาษาเมียแองเคียลี ได้พัฒนาต่างไป จากภาษาฟินแลนด์ในปัจจุบัน ดังนั้นทั้งสองภาษาจึงค่อนข้างจะ แตกต่างกัน ภาษาซามิ ใช้พูดโดยชาวซามิ นับเป็นเวลาหลายพันปีแล้วที่ชาวซามิ อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งเรียกว่า : ซัพมิ ซัพมิ ทอดตัวยาวอยู่ทางตอนเหนือสุด ของนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย แต่ชาวซามิก็อาศัยอยู่ทั่วสวีเดน เนื่องจากซัพมิกินพื้นที่เป็นบริเวณ กว้างมาก ภาษาซามิที่ใช้พูดที่นั่น จึงไม่ได้ประกอบขึ้นมาจากภาษาเดียว แต่มาจากหลายภาษา สิ่งหนึ่งที่ภาษาฟินน์ เมียแองเคียลี และซามิ มีร่วมกัน ก็คือพวกมันจัดอยู่ในตระกูลภาษาอื่น ที่ต่างจากภาษาสวีเดน ภาษาทั้ง 3 อยู่ในสาขาภาษาฟินโน-ยูกริก ในขณะที่สวีเดนเป็นภาษา ในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แล้วภาษาโรมานีชิบล่ะ? มันเป็นภาษาของชาวโรม่า ชาวโรม่าเป็นชนชาติที่เดิมที อาศัยอยู่ในอินเดีย และกระจายตัวไปทั่วยุโรป ผ่านทางเปอร์เซียและอาร์เมเนีย การเดินทางครั้งนี้กินเวลาหลายร้อยปี และมันเป็นช่วงเวลาที่ภาษา ของพวกเขาได้ถูกพัฒนาขึ้น ในศตวรรษที่ 16 ชาวโรม่ากลุ่มแรก มาถึงสวีเดน จริงๆแล้วโรมานีชิบไม่ได้เป็นภาษาใดๆ แต่เป็นคำร่วมของภาษาถิ่นหลายๆภาษา ภาษาโรมานีชิบมีความสัมพันธ์อันห่างไกล กับภาษาสวีเดน เนื่องจากเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ภาษาของชนกลุ่มน้อยที่เป็นทางการ ภาษาที่ 5 คือภาษายิดดิช ยิดดิชคือภาษายิวที่ถูกพัฒนาขึ้นใน ดินแดนที่ปัจจุบันเรียกว่าเยอรมันนี ราว 1,000 ปีก่อน ภาษายิดดิชใช้ตัวอักษรแบบ เดียวกับภาษาฮีบรู แต่ภาษาทั้งสองนี้ไม่ได้จัด อยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกัน ยิดดิชเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งภาษาฮีบรูไม่ใช่ ชาวยิวอาศัยอยู่ในสวีเดน มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ในปี 2010 ภาษาเหล่านี้ได้รับการกำหนด ให้เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยแห่งชาติในสวีเดน หวังว่าภาษาเหล่านี้จะคงอยู่ต่อไป อย่างน้อยก็ที่นี่